กระบวนการคุณภาพในการจัดทำบัญชี

โดย

 


กระบวนการคุณภาพในการจัดทำบัญชี ควรพิจารณาดังนี้

1. ต้องสร้างความเข้าใจในลักษณะของธุรกิจ
จัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหรือไม่ นักบัญชีต้องเข้าใจในลักษณะธุรกิจก่อนเป็นอันดับแรก สิ่งสำคัญต้องหมั่นติดตามว่า
ธุรกิจขององค์กรที่เราเป็นผู้ทำบัญชีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างไรบ้างหรือไม่ ซึ่งเราต้องประเมิน วิเคราะห์ เผื่อว่า
อาจจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการในการจัดทำบัญชี

2. ต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน
นักบัญชีเข้าใจดีอยู่แล้ว งานของเราคือการรวบรวมข้อมูลและเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ นั้น หมายความว่า การที่เราจะ
รวบรวบข้อมูลและเอกสารได้อย่างครบถ้วนหรือไม่นั้น มีความจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง (หลักการ : รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง) เทคนิคที่น่าจะนำมาใช้คือการเขียน Work Flow (ภาพ
กระบวนการปฏิบัติงาน) เพื่อเห็นภาพกระบวนการปฏิบัติ

3. ต้องประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น/หรืออาจจะเกิดขึ้น
สืบเนื่องจากข้อ 1 และ 2 สิ่งนักบัญชีต้องทำต่อเนื่อง คือ การประเมินปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือจากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อ
ทบทวนและพิจารณาถึงผลกระทบ (นักบัญชีควรต้องเริ่มศึกษา “การประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง อันเป็น
ประโยชน์ต่อการทำงาน)

4. ออกแบบกระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ เอกสารหลักฐาน
เป็นงานต่อเนื่องอีกเช่นเดียวกัน เมื่อประเมินปัญหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น นักบัญชีก็ควรออกแบบกระบวนการ / วิธีการ
ปฏิบัติงานที่ควรปรับปรุงใหม่ รวมถึงการสรุปข้อมูลและเอกสารหลักฐานสำคัญที่ควรได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้
นักบัญชีควรนำเสนอเพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบ พิจารณา และขออนุมัติเป็นลำดับต่อไป และสิ่งสำคัญภายหลังการได้รับ
การอนุมัติ นักบัญชีควรต้องสื่อสารให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ และขอความร่วมมือ อันจะ
นำประโยชน์มาสู่องค์กรร่วมกัน (ข้อสำคัญ : การนำเสนอในการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานนั้น นักบัญชีคงจะต้องใช้
วาทศิลป์และเทคนิคการนำเสนอ การจูงใจ ซึ่งคงจะต้องเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนเพิ่มเติมกันต่อไป)

5. กำหนดแนวการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารหลักฐาน
คุณภาพงานของนักบัญชีคงจะหนีไม่พ้นคำว่า ตรวจสอบ ดังนั้น การตรวจสอบจึงควรกำหนดแนวการตรวจสอบให้ชัดเจน
ควรใช้เทคนิคอย่างไรบ้าง ข้อแนะนำ ในการจะใช้เทคนิคในการตรวจสอบอย่างไร เราควรกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา
ในการตรวจสอบดังนี้ คือ 1. เพียงพอ เหมาะสม 2. มีความน่าเชื่อถือ 3. มีความถูกต้อง 4. มีความครบถ้วน และเกณฑ์ข้อ
สุดท้าย 5. ผู้อนุมัติตามระเบียบ

6. ประยุกต์ เนื้อหาสาระ/หลักการบัญชี/หลักการภาษี
เมื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระ กำหนดวิธีการตรวจสอบ อย่างเหมาะสม อันทำให้เกิดความเข้าใจที่เพียงพอ สิ่งที่
ต้องทำต่อมา คือ การประยุกต์เนื้อหาสาระที่รวบรวมมาได้ กับหลักการบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อ
นำไปสู่การบันทึกบัญชีต่อไป ซึ่งนักบัญชีควรต้องตอบได้ว่าเนื้อหาสาระ ไปเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับไหน
(ถ้าเลือกใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ – NPAEs ก็ควรตอบได้ว่า
เกี่ยวข้องในบทไหน นั่นคือความสำคัญที่นักบัญชีพึงต้องสนใจ อ่าน ทำความเข้าใจกับหลักการที่มาตรฐานการรายงาน
ทางการเงินกำหนดให้เป็นหลักการปฏิบัติในการบันทึกบัญชี)

7. กำกับติดตาม อย่างใกล้ชิด หมั่นทบทวน กำกับดูแล อย่างสม่ำเสมอ
ส่วนของคุณภาพงานบัญชีสำคัญ จึงควรมีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดว่ายังมีปัญหาเกิดขึ้นอย่างไรอีกหรือไม่และ
หมั่นทบทวน อย่างน้อยที่สุดภายหลังการปิดงบการเงินประจำปี ควรมีบทสรุปภาพรวมสิ่งที่ควรปรับปรุงคุณภาพใน
การจัดทำบัญชีเพิ่มเติม ประกอบกับการนำเสนอรายงานทางการเงิน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม นักบัญชีควรหาโอกาสประชุม
ร่วมกับผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อขอรับฟังความคิดเห็น สิ่งที่ผู้ตรวจสอบได้ตรวจสอบ มีประเด็นใดหรือไม่ที่ทางบริษัทควร
ได้รับการปรับปรุง

  บางส่วนจากบทความ กระบวนการคุณภาพในการจัดทำบัญชี
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 186 เดือนมิถุนายน 2562


Tax & Accounting : Mr.Knowing 
วารสาร : CPD&ACCOUNT มิถุนายน 2562


FaLang translation system by Faboba