การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีกับการเลิกจ้าง

โดย

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะมาแทนที่แรงงานมากขึ้น แล้วแรงงานเหล่านั้นจะไปทำงานอะไร จะเกิด
การว่างงานมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลที่จะต้องหาทางแก้ไขต่อไป แต่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ของประเทศไทยมีบทบัญญัติที่กำหนดให้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง หาก
นายจ้างจำต้องเลิกจ้างเพราะปรับปรุงกิจการของตนโดยการใช้เครื่องจักรหรือเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไว้แล้ว ดังนี้

“ มาตรา 121 ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต
การจำหน่าย  หรือการบริการ อันเนื่องมาจากนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ซึ่งเป็นเหตุให้ลดจำนวนลูกจ้างลง ห้ามมิให้นำมาตรา 17 วรรคสองมาใช้บังคับ และให้
นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะ
เลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตาม
วรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว
ล่วงหน้า เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง
ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทน
การบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
มาตรา 122 ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อ
การทำงานครบ 1 ปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 15 วันสุดท้ายต่อการทำงานครบ 1 ปี สำหรับ
ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตรา
สุดท้าย 360 วัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 360 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบ 1 ปี ถ้าเศษระยะเวลาทำงานมากกว่า
180 วัน ให้นับเป็นเวลาการทำงานครบ 1 ปี” 

เมื่อพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 121 เงื่อนไขแรกที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้าง ด้วย
สาเหตุสำคัญ 4 ประการดังนี้ 
1. ปรับปรุงหน่วยงาน ได้แก่ การจัดวางรูปองค์กรใหม่หรือจัดหน่วยงานใหม่ไม่ให้แต่ละหน่วยงานทำงานซ้ำซ้อนกัน
อันเป็นผลทำให้มีหน่วยงานน้อยลง เป็นต้น
2. ปรับปรุงกระบวนการผลิต ได้แก่ การลดขั้นตอนการผลิตให้น้อยลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตให้
รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น เป็นต้น
3. ปรับปรุงการจำหน่าย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวิธีการจำหน่ายสินค้าไปยังลูกค้าไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เพื่อให้
การจำหน่ายสินค้ารวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น
4. ปรับปรุงการบริการ ได้แก่ การใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือต่างๆ รวมทั้งหุ่นยนต์มาใช้บริการแทนคน หรือใช้
เครื่องมืออัตโนมัติให้ลูกค้าบริการตนเอง เป็นต้น


  บางส่วนจากบทความ  “การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีกับการเลิกจ้าง” 
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 200 เดือนสิงหาคม 2562

กฎหมายแรงงาน : เรื่องข้น คน HR : วรเศรษฐ์  เผือกสกนธ์
วารสาร : HR Society Magazine สิงหาคม 2562


FaLang translation system by Faboba