แนวทางในการบริหารค่าตอบแทนสำหรับคนเก่งในองค์กร (Talent)

โดย

 


การบริหารค่าตอบแทนสำหรับคนเก่งนั้น สามารถแบ่งออกเป็นค่าตอบแทน 2 ประเภท คือ

1. ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน เช่น
•เงินเดือน พนักงานมือดีขององค์กร ย่อมต้องได้รับเงินเดือนตอบแทนความเก่งของตนเองที่สูงกว่าพนักงานที่มีผลงานดี
ปกติอย่างมีนัยสำคัญ
•โบนัส คนเก่งก็จะได้รับโบนัสในอัตราที่สูงที่สุดเช่นกัน เนื่องจากเราต้องการที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานสร้างผลงาน
ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
•Retention Bonus บางองค์กรนอกจากโบนัสตามผลงานแล้ว ยังบวกด้วย Retention Bonus เพิ่มเติมให้อีก
•ให้หุ้น บางองค์กรก็ให้หุ้นกับพนักงานเก่งๆ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เรียกว่าค่าตอบแทนจูงใจในระยะยาว

2. ค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น 
•มีโปรแกรมการพัฒนาที่เข้มข้น ถือเป็น Rewards ที่ไม่ใช่ตัวเงินที่องค์กรนิยมให้กันมากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อม
ในการเป็นผู้นำขององค์กรต่อไป
•ส่งไปเรียน/อบรมต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นหลักสูตรทางด้านการบริหารจัดการ หรือ ภาวะผู้นำ ที่สามารถนำ
กลับมาใช้ในการทำงานกับองค์กรต่อไปได้
•เป็น Successor พนักงานกลุ่มนี้จะรับรู้โดยอัตโนมัติว่าเขาจะได้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ซึ่งเป็นการสร้าง
ความรู้สึกภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นในตัวของพนักงานที่เป็น Talent ได้
•ให้เข้ามามีส่วนร่วมในงานสำคัญของบริษัท ทำให้เขารู้สึกถึงความสำคัญ และแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารและองค์กรให้
การยอมรับเขาในฐานะคนเก่งขององค์กร
•อนุญาตให้ทำงานแบบยืดหยุ่นได้มากขึ้น เช่น ได้รับสิทธิในการทำงานที่บ้าน หรือทำงานที่ไหนก็ได้ ภายใต้เงื่อนไข
ที่กำหนดไว้ เป็นต้น


  บางส่วนจากบทความ  “แนวทางในการบริหารค่าตอบแทนสำหรับคนเก่งในองค์กร (Talent)”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 207 เดือนมีนาคม 2563

HRM /HRD : ครบเครื่องเรื่องค่าตอบแทน :  ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร 
วารสาร : HR Society Magazine มีนาคม 2563


FaLang translation system by Faboba