จ่ายเงินค่าบริการออนไลน์ไปต่างประเทศ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดย

 

ผู้นำเข้าบริการจากต่างประเทศที่เป็นประชาชนทั่วไปและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีจำนวนมากและละเลยไม่ยื่นแบบฯ
และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร อาจด้วยความไม่เข้าใจในกฎหมายและไม่ทราบว่าจะต้องเสียภาษีในกรณีดัง
กล่าวด้วย ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนนี้จำนวนมาก การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก
ประชาชนเท่านั้น ซึ่งการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวผู้จ่ายเงินจะมีโทษทั้งค่าปรับอาญาและเงินเพิ่ม
เราควรต้องเข้าใจประเด็นเกี่ยวกับภาษีอากรที่แฝงอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วยซึ่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่เป็น
ประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นเอง

1. ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีของผู้ใช้บริการ
มีข้อสงสัยอยู่บ้างใช่ไหมว่า ทำไมทุกครั้งที่ตนจ่ายเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการ ต้องมีจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ปรากฏอยู่
บนใบกำกับภาษีด้วย และหลายๆ ท่านยังสงสัยต่ออีกว่า การจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อบริการอิเล็กทรอนิกส์จาก
ต่างประเทศ เช่น การซื้อหนัง เพลง สติ๊กเกอร์ ออนไลน์จากผู้ให้บริการในต่างประเทศ ซึ่งผู้ให้บริการในต่างประเทศไม่ได้
ออกใบกำกับภาษีให้ผู้รับบริการ แสดงว่าผู้รับบริการไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่

2. ปัญหากฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจ่ายเงินค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ไปต่างประเทศ
เมื่อมีการชำระค่าบริการให้กับผู้ประกอบการ ที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ให้ผู้จ่าย
เงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษี
จากข้อกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบสำคัญของกฎหมายมี 2 ประการ คือ
2.1. บริการต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
คำว่า “บริการ” คือ หมายถึงการกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า ดังนั้น อะไรก็ตามที่ไม่ใช่
สินค้า จึงเข้าลักษณะเป็น ‘บริการ’ ตามความหมายนี้ด้วยกันทั้งสิ้น 
2.2. ผู้จ่ายเงินค่าบริการต้องนำส่งเงินภาษีมูลเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่กรมสรรพากร
เมื่อมีการนำเข้าบริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ
7.0 โดยใช้แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบภ.พ. 36 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการ
ในต่างประเทศ โดยกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้จ่ายเงิน 

3. ผลของการไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 36
เนื่องจากผู้จ่ายเงินค่าบริการไปต่างประเทศมีจำนวนมาก ทำให้กรมสรรพากรไม่อาจติดตามผู้จ่ายเงินให้มาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่ถ้ากรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ใช้บริการจากต่างประเทศไม่ได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด
บุคคลดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินภาษี ค่าปรับอาญาตามระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตรา 1.5%
ต่อเดือน 

   
      บางส่วนจากบทความ “จ่ายเงินค่าบริการออนไลน์ไปต่างประเทศ....ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 462 เดือนมีนาคม 2563




Tax Talk : Tax How To : ดร. เพชรรัตน์ ศุภนิมิตรกุลกิจ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มีนาคม 2563



FaLang translation system by Faboba