เงินกู้ยืมจากกรรมการกับการถือเป็น "รายได้" ทางภาษี

โดย

 


เจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการกับการเสียภาษี


เนื่องจากกรมสรรพากรมองว่าบางครั้งเงินกู้ยืมกรรมการถือเป็นช่องทางในการหลบเลี่ยงรายได้ตามที่กล่าวมา ดังนั้นหากมี
การกู้ยืมเงินจากกรรมการหรือหุ้นส่วนจริงๆ สิ่งที่ต้องมีคือ สัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่างๆ พร้อมกับหลักฐานของเส้นทาง
การเงินที่สามารถตรวจสอบได้ มิเช่นนั้นแล้วอาจจะเป็นปัญหาได้ในภายหลัง ซึ่งเป็นหน้าที่ของกิจการในการจัดการเอกสาร
หลักฐานต่างๆ เหล่านี้ 
อย่างไรก็ตาม การบันทึกบัญชีอาจจะถือเป็นอีกหนึ่งร่องรอยให้ถูกตั้งคำถามต่อ หากไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เช่น มีการกู้ยืมเงินจากกรรมการด้วยเงินสดทั้งจำนวนเป็นมูลค่าสูงมาก แม้ว่าจะมีสัญญาครบถ้วนแต่อาจจะขัดกับข้อเท็จจริง
ในทางปฏิบัติได้เช่นกันครับ
นอกจากนั้น พฤติกรรมของการกู้ยืมเงินและฐานะการเงินของกรรมการก็เป็นเหตุชวนสงสัยในการหลบเลี่ยงภาษีด้วยเช่น
เดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตีเป็นรายได้ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่ม และอาจจะต้องเสียทั้งภาษีเงินได้
นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นเดียวกัน โดย

● ภาษีเงินได้นิติบุคคล จะเสียเมื่อถือว่าหนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และถือว่าเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่
กระทำในระยะเวลาบัญชี และต้องนำมาคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

● ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ขึ้นอยู่กับการตีความว่า เงินกู้ยืมจากกรรมการจำนวนนี้ถือเป็นรายได้ที่เป็นผลตอบแทนจากการขาย
สินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร...หรือไม่  ซึ่งหากไม่ใช่ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่ถ้าหากใช่ก็ต้องเสียตามที่เจ้าหน้าที่จะประเมินต่อไป 

ตรงนี้คือประเด็นสำคัญในการพิจารณา และเป็นตัวชี้ชัดว่าทางกิจการเองมีหลักฐานพิสูจน์ได้มากเพียงพอหรือไม่
ว่าเงินกู้ดังกล่าวไม่ใช่การหลบเลี่ยงรายได้และไม่ใช่เงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรนั่นเอง 


  บางส่วนจากบทความ “เงินกู้ยืมจากกรรมการกับการถือเป็น "รายได้" ทางภาษี”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 196  เดือนเมษายน 2563


Tax Talk : Tax knowledge : Tax Bugnoms 
วารสาร : CPD&ACCOUNT เมษายน 2563


FaLang translation system by Faboba