แทรกแซงการตัดสินใจทำ OT ถูกเลิกจ้างได้! และ ทิ้งขยะมีค่า...แม้ไม่ได้หากำไรก็ถูกไล่ออกได้

โดย

 

 

แทรกแซงการตัดสินใจทำ OT ถูกเลิกจ้างได้!



มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2559 ระหว่างบริษัท อ. ผู้ร้อง (นายจ้าง) และ นาย ส. ผู้คัดค้าน (ลูกจ้าง) 

ว่ากันในเรื่องการทำงานล่วงเวลา หรือ OT (Overtime) แต่เคสนี้เป็นการเข้าแทรกแซงการทำ OT เพื่อใช้ต่อรองกับ
นายจ้าง ดังนี้

(1) ผู้คัดค้านในคดีนี้เป็นลูกจ้างชื่อ นาย ส. และเป็นกรรมการลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์  ได้ทำ
การจูงใจและใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับให้ลูกจ้างของผู้ร้อง (นายจ้าง) ไม่ให้ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 และ
วันที่ 10 กันยายน 2552  

(2) แม้ว่าการทำงานล่วงเวลา หรือ OT จะเป็นไปตามความสมัครใจของลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรค 1 ก็ตาม แต่ความสมัครใจนั้นต้องมิได้เกิดจากการชักจูงของบุคคลใด ลูกจ้างคนไหนอ
ยากทำ OT ก็ต้องมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตัวเอง 

(3) การกระทำของลูกจ้าง ที่เป็นกรรมการลูกจ้างคนนี้ จึงเป็น
3.1 การต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง
3.2 การกระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อนายจ้าง
3.3 เป็นการประพฤติตนอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต

(4) นายจ้างจึงมีเหตุสมควรเลิกจ้างลูกจ้างรายนี้ได้
เรื่องมีว่า...นายจ้างในฐานะผู้ร้องได้ยื่นคำร้องว่า นาย ส. กรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับลูกจ้างของ
ผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2552 เป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ขอให้ศาลอนุญาต
ให้เลิกจ้าง นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง)

(5) นาย ส. กรรมการลูกจ้าง ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง ซึ่งศาลแรงงานกลาง (ศาลชั้นต้น) มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
ทำให้ยกที่ 1 นาย ส. ชนะนายจ้าง

(6) คดีมาถึงมือศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ท่านได้วินิจฉัยว่า จากข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติว่า
นาย ส. เป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างของผู้ร้องจริงๆ ในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2556 ลูกจ้างในโรงงานของ
ผู้ร้องส่วนใหญ่ไม่ทำงานล่วงเวลา เพราะนายจ้างได้ย้าย นาย ช. ประธานสหภาพแรงงาน อ. นวนคร ไปทำงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม โดย นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) มีส่วนในการจูงใจลูกจ้างผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลา แต่มิได้ข่มขู่
ลูกจ้าง (นายจ้างนำสืบว่าขมขู่ แต่ศาลแรงงานกลางฟังว่าไม่ได้ข่มขู่ ข้อเท็จบ้างจริงบ้าง ก็เลยกลายเป็นว่าไม่มีการข่มขู่)
แล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของ นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) ไม่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้าง นาย ส.
(กรรมการลูกจ้าง) ได้ 

(7) ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของนายจ้างที่เป็นผู้ร้องว่า มีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่นั้น ศาลฎีกา
ท่านเห็นว่า จ.ท.ต.ป. (จูงใจ | แทรกแซง | ต่อต้าน | เป็นปรปักษ์) ถือว่าแรงและจัดหนักให้ ดังนี้
7.1 การที่ นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) ทำการจูงใจให้ลูกจ้างคนอื่นๆ ไม่มาทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 และ
วันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น แม้การทำงานล่วงเวลาจะเป็นไปตามความสมัครใจของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรค 1 ก็ตาม แต่ความสมัครใจนั้นต้องมิได้เกิดจากการชักจูงของบุคคลใด 
7.2 การที่ นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) ไปจูงใจลูกจ้างของนายจ้างไม่ให้ทำงานล่วงเวลา จึงเป็นการ (ชี้นำ) แทรกแซง
อำนาจในการตัดสินใจของลูกจ้างคนอื่นๆ เพื่อมิให้ทำงานล่วงเวลาแก่นายจ้าง
7.3 การกระทำของ นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) จึงเป็นการต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง
7.4 ถือว่า นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) กระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อนายจ้างและเป็นการประพฤติตนอันไม่สมแก่การปฏิบัติ
หน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต

(8) นายจ้าง (ผู้ร้อง) จึงมีเหตุสมควรเลิกจ้าง นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) ผู้คัดค้านได้ ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่า
การกระทำของ นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้เลิกจ้างนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย 
อุทธรณ์ของนายจ้างที่เป็นผู้ร้องจึงฟังขึ้น พิพากษากลับ เป็นว่าอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้าง นาย ส. (กรรมการลูกจ้าง) ได้ 

ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้าง กรรมการสหภาพแรงงาน หรือบุคคลใดๆ ก็ตามที่เป็นลูกจ้าง เป็นหัวหน้า ฯลฯ
แล้วไปจูงใจ หว่านล้อม ไม่ว่าจะบังคับขู่เข็ญ ข่มขู่หรือไม่ก็ตาม จนทำให้อิสระเสรีในการคิดและเลือกตัดสินใจว่าจะทำ
OT มั้ย เบี่ยงเบนไปจนไม่เป็นตัวของตัวเอง ศาลฎีกาท่านก็มองว่า ทำลายความสมัครใจของลูกจ้างที่เขาอยากทำ
OT ด้วย

  บางส่วนจากบทความ  “แทรกแซงการตัดสินใจทำ OT ถูกเลิกจ้างได้! และ ทิ้งขยะมีค่า...แม้ไม่ได้หา
  กำไรก็ถูกไล่ออกได้”

  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 208 เดือนเมษายน 2563



กฎหมายแรงงาน  : คลายปมปัญหาแรงงาน : กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 
วารสาร : HR Society Magazine เมษายน 2563


FaLang translation system by Faboba