สัญญาลีสซิ่ง

โดย

 

 


สัญญาลีสซิ่ง คือ สัญญาเช่าที่ให้สิทธิผู้เช่าในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่ให้เช่าเมื่อครบกำหนดสัญญา โดยภาระภาษีของสัญญา
ลีสซิ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง สัญญาลีสซิ่ง (ช่วงที่เช่า) จะมีภาระภาษีเหมือนกับสัญญาเช่าทรัพย์สินทั่วไป และสัญญาลีสซิ่ง
(ช่วงที่ซื้อขาย) จะมีภาระภาษีเหมือนกับสัญญาซื้อขายทรัพย์สินทั่วไป 
ภาระภาษีของสัญญาลีสซิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีควรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อประโยชน์
ของกิจการ การทำงาน และการเสียภาษีที่ถูกต้อง

ลักษณะทั่วไปของสัญญาลีสซิ่ง สัญญาลีสซิ่ง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดลักษณะของสัญญาลีสซิ่งไว้ โดยเฉพาะ ในทางปฏิบัติหรือตาม
แนวคำพิพากษาของศาลฎีกาส่วนใหญ่จะเห็นว่าสัญญาลีสซิ่งเป็นสัญญาเช่าทรัพย์โดยอาศัยการเทียบเคียงกฎหมายที่
ใกล้เคียงอย่างยิ่ง   

ประเภทของสัญญาลีสซิ่งสามารถแบ่งประเภทของสัญญาลีสซิ่ง ได้ดังนี้ 
1. การเช่าทางการเงินหรือเช่าทรัพย์สินประเภททุน (Financial Lease) เป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าหรือบริษัทเงินทุน
สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้เช่าหรือผู้ประกอบการ
2. การเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าให้เช่าทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานหลายๆ
อย่างที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยให้ผู้เช่ามีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ และผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้
3. การเช่าแบบขายแล้วเช่าคืน (Lease Back) เป็นสัญญาซึ่งเจ้าของขายทรัพย์ของตนเองให้กับบริษัทลีสซิ่ง โดย
บริษัทลีสซิ่งชำระราคาทรัพย์แล้วพร้อมๆ กันนั้นก็นำทรัพย์นั้นให้ผู้ขายได้ใช้ประโยชน์

ความแตกต่างของสัญญาลีสซิ่ง สัญญาเช่า และสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่า คู่สัญญามุ่งที่จะใช้หรือให้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งโดยไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือ
ความเป็นเจ้าของให้แก่กัน
สัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญามุ่งที่จะใช้หรือให้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินและต้องการโอนกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของให้แก่กัน
สัญญาลีสซิ่ง คู่สัญญามุ่งที่จะใช้หรือให้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ผู้เช่าสามารถเลือกว่า
จะต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในท้ายที่สุดหรือไม่ก็ได้



   
      บางส่วนจากบทความ “สัญญาลีสซิ่ง”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 467 เดือน กันยายน  2563 




Laws & News : Business Law : รัฐวุฒิ จิตร์ชนะ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร กันยายน  2563 



FaLang translation system by Faboba