รายได้และรายได้อื่นของกิจการประเด็นภาษีที่ต้องระมัดระวัง

โดย

 

 
ประเด็นภาษี! ที่ต้องระมัดระวังรายได้และรายได้อื่นของกิจการ


รายได้จากการประกอบกิจการหรือรายได้หลัก
การประกอบธุรกิจโดยทั่วไปแล้ว รายได้อันเกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรงมักจะมีการประกอบธุรกิจอยู่ 2 ประเภท คือ
ธุรกิจขายสินค้ากับธุรกิจให้บริการ ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1 (8) และ (10) ได้ให้ความหมายของคำว่า “ขาย” และ
“บริการ” ไว้ดังต่อไปนี้

"ขาย" หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึง
(ก) สัญญาให้เช่าซื้อสินค้า สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ
แล้ว หรือสัญญาจะขายสินค้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(ข) ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย
(ค) ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
(ง) นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(จ) มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง
(ฉ) มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึง
สินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินดังกล่าวของผู้ประกอบการซึ่งได้ควบเข้ากัน หรือได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ทั้งนี้ผู้
ประกอบการใหม่อันได้ควบเข้ากัน หรือผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
(ช) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

"บริการ" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึง
การใช้บริการของตนเอง 

เมื่อผู้ประกอบธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นในการประกอบกิจการจะต้องนำรายได้ไปเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ โดยให้นำ
รายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบ
ระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณ
เป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

นอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทุกครั้งที่จุด
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ซึ่งประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ในมาตรา 78 และ 78/1 ดังนี้

กิจการขายสินค้า  ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2) (3) (4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่
กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า
(2) การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อได้
ส่งมอบ ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด
(3) การขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ทั้งนี้เฉพาะสัญญาการตั้งตัวแทน
เพื่อขายตามประเภทของสินค้าและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(4) การขายสินค้าโดยส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
(ก) การส่งออกนอกจากที่ระบุใน (ข) หรือ (ค) ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก
หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก แล้วแต่กรณี
ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(ข) การส่งออกในกรณีที่นำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (14) (ก) ให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่
นำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตดังกล่าว "
(ค) การส่งออกซึ่งสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกับ
ความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(5) การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (5) และภายหลังได้มีการ โอนกรรมสิทธิ์
ในสินค้าอันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1 (2) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อ
โอนกรรมสิทธิ์สินค้า


   
      บางส่วนจากบทความ “รายได้และรายได้อื่นของกิจการประเด็นภาษีที่ต้องระมัดระวัง”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 469 เดือน ตุลาคม 2563 




Smart Accounting : Accounting Practice : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
วารสาร : เอกสารภาษีอากร ตุลาคม 2563



FaLang translation system by Faboba