ขับเคลื่อน SMEs ไทยด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี

โดย

 

 

จ้างแรงงาน ลงรายจ่ายได้ 3 เท่า

ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีการจ้างงานลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมและยังคงมีการจ้างงานและจ่าย
ค่าจ้างลูกจ้างในเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 ผู้ประกอบการมีสิทธิลงรายจ่ายสำหรับค่าจ้างแรงงานนั้น
ได้เพิ่มอีก 2 เท่า  โดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

(1) ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย
ซึ่งมีกำหนดครบ 12 เดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2563 ไม่เกิน
500 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว

(2) ต้องมีจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้าง
ที่เป็นผู้ประกันตน ณ วันที่ 31 เดือนมีนาคม 2563 เว้นแต่มีเหตุอันสมควร ได้แก่ กรณีลูกจ้างเกษียณอายุตามสัญญาจ้าง
แรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือตาย

(3) ต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน โดยลูกจ้างนั้นต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่ง
กฎหมายประกันสังคม และต้องได้รับค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายนี้อาจเป็นการจ่ายเป็น
รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น และให้หมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้าง
ไม่ได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึง เงินค่าล่วงเวลา เงินโบนัส
หรือทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากการจ้างแรงงาน

(4) ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร เนื่องจากรายจ่ายใน
การจ้างงานลูกจ้างไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น การให้การสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงรายจ่ายได้เพิ่มอีก 2 เท่าสำหรับ
การจ้างงานผู้สูงอายุ เป็นต้น

(5) ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิลงรายจ่ายเพิ่มขึ้นได้ที่ www.rd.go.th
ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และสำหรับผู้ประกอบการที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือใน วันที่ 30 เมษายน 2563 ให้แจ้งข้อมูลภายในวันที่ 30 กันยายน 2563

โดยปกติแล้ว เมื่อผู้ประกอบการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับการจ้างแรงงาน ผู้ประกอบการสามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมา
ถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการและมีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม
ตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อผู้ประกอบการรายใดได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้าง
ต้นครบถ้วนแล้ว ผู้ประกอบการรายดังกล่าวย่อมได้รับสิทธิในการนำเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างมาลงเป็นรายจ่ายเพิ่มได้
อีก 2 เท่า เช่น บริษัท ก. เป็นบริษัทที่ปฏิบัติตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 708) ได้จ่ายเงินค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้าง
ของบริษัทที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท    ต่อเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 รวมจำนวน
300,000 บาท (15,000 บาท x 5 คน x 4 เดือน) ดังนั้นในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปีภาษี 2563
บริษัท ก. จึงมีสิทธินำรายจ่ายค่าจ้างแรงงานดังกล่าวไปลงรายจ่ายได้เพิ่มอีก 2 เท่า (จำนวน 600,000 บาท) รวมราย
จ่ายค่าจ้างแรงงานที่บริษัท ก. ได้รับสิทธิตามกฎหมายฉบับดังกล่าวจำนวนรวมทั้งสิ้น 900,000 บาท

พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้สามารถช่วยผู้ประกอบการที่ยังคงจ้างแรงงานลูกจ้างในช่วงเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกรกฎาคม
2563 ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการนำเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายไปนั้นมาลงเป็นค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีก 2 เท่า ซึ่งมาตรการ
ภาษีนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้ต่อไปและไม่สร้างปัญหาการว่างงานให้แก่สังคมและประเทศชาติ 

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายเห็นว่า จำนวนเงินเดือนค่าจ้างที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นมีจำนวนไม่มาก กล่าวคือ ไม่เกิน
15,000 บาทต่อคน แต่หากคำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐให้เพิ่มตามตัวอย่างข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบ
การสามารถประหยัดภาษีจากกฎหมายฉบับดังกล่าวได้เป็นจำนวน         


   
      บางส่วนจากบทความ “ขับเคลื่อน SMEs ไทยด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 470 เดือน พฤศจิกายน 2563 




Tax Talk : Tax How to : ดร. เพชรรัตน์ ศุภนิมิตรกุลกิจ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร พฤศจิกายน 2563



FaLang translation system by Faboba