ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการ Special Severance Pay

โดย

 

 

ลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการมีผลกระทบสําคัญต่อการดํารงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
และไม่ประสงค์จะไปทํางาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ หรือสถานที่อื่นของนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิขอบอกเลิกสัญญา
และมีสิทธิแสดงเจตนาขอเลิกสัญญาจ้างและรับค่าชดเชยพิเศษได้ 

ทั้งนี้ ลูกจ้างจะต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศการแจ้งนั้น ในหนังสือบอกเลิก
สัญญาจ้าง ลูกจ้างควรระบุเหตุผลให้นายจ้างเข้าใจได้ว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสําคัญต่อ
การดํารงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวอย่างไร

เมื่อลูกจ้างได้แจ้งเป็นหนังสือแล้ว ให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิ
ได้รับค่าชดเชยพิเศษ จํานวนไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ
หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงินเท่าใด กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ทำให้ลูกจ้าง
หรือครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติ และลูกจ้างขอบอกเลิกสัญญาจ้าง ลูกจ้างก็จะมีสิทธิ
ได้รับค่าชดเชยพิเศษในอัตราเดียวกับที่ถูกนายจ้างเลิกจ้าง ในกรณีลูกจ้างขอบอกเลิกสัญญาจ้าง แต่ยังไม่มีการย้ายสถาน
ประกอบกิจการ นายจ้างและลูกจ้างยังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างต่อไปจนกว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลง 

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือขอเลิกสัญญาจ้างจากลูกจ้างตามข้อ 3 นายจ้างต้องพิจารณา การย้ายสถานประกอบกิจการมี
ผลกระทบต่อการดํารงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวลูกจ้างจริงหรือไม่เพียงใด โดยพิจารณาจาก ระยะทาง
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว 

กรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างต้องยื่นคําร้องต่อ
คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาวินิจฉัยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากลูกจ้าง โดยให้ถือคําสั่งของ
คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานถือเป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะไม่เห็นด้วยกับคําสั่ง ก็สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์
คําสั่งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานต่อศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคําสั่ง 


  บางส่วนจากบทความ  “ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการ Special Severance Pay
  จากการย้ายสถานประกอบกิจการ”

  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม 2563



กฎหมายแรงงาน : กฎหมายคุ้มครองแรงงาน : พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น
วารสาร : HR Society Magazine ธันวาคม 2563


FaLang translation system by Faboba