การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์

โดย

 


การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามประมวลรัษฎากร


เมื่อกิจการได้ซื้อหรือรับโอนเครื่องจักรและอุปกรณ์เข้ามาใช้ในกิจการจะต้องนำทรัพย์สินดังกล่าวมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อม
ราคาทรัพย์สิน ในทางบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีไม่ได้กำหนดอัตราในการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแต่ใช้วิธีการ
ประมาณการอายุการใช้งานให้เหมาะสมกับทรัพย์สิน แต่ในทางประมวลรัษฎากรได้กำหนดอัตราในการคำนวณ
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาห้ามเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด 

นอกจากนี้นักบัญชีควรจะคำนึงถึงกฎหมายภาษีอากรเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
ทรัพย์สิน ฉบับที่ 145 ตามประมวลรัษฎากร ได้ออกพระราชกฤษฎีการว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์
ฉบับที่ 145 ซึ่งกำหนดให้กิจการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามวิธีเส้นตรง (STRAIGHT LINE
METHOD) ตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในอัตราไม่เกินร้อยละของมูลค่าต้นทุนตาม
ประเภทของทรัพย์สินดังต่อไปนี้

1) อาคาร
- อาคารถาวร     ร้อยละ 5
- อาคารชั่วคราว  ร้อยละ 100
2) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5
3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
- กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนด ให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้น
เปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อๆไป ร้อยละ 10
- กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอัน
จำกัดแน่นอน ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุ การเช่า และอายุที่ต่อได้รวมกัน
4) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตรกู๊ดวิล เครื่องหมาย การค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
- กรณีไม่จำกัดอายุการใช้งาน ร้อยละ 10
- กรณีจำกัดอายุการใช้         ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุ การใช้
5) ทรัพย์สินอื่นซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอ หรือเสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้า ร้อยละ 20
6) เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนา ร้อยละ 40
สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 1-5
7) เครื่องบันทึกการเก็บเงินของผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม   
7.1) หักจากมูลค่าต้นทุน               ร้อยละ 100
7.2) หักในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา  ร้อยละ 40
สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 1-5

การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดตาม
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145 เมื่อกิจการได้มีการซื้อทรัพย์สินเข้ามาใช้ในกิจการมักจะมีปัญหาในการคำนวณและการเลือกวิธี
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งมีอัตรา
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากันในแต่ละปีระหว่างอายุการใช้ทรัพย์สิน จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธี
นั้นในบางปีเกินอัตราที่กำหนดข้างต้นก็ได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้อง
ไม่น้อยกว่า 100 หารด้วยจำนวนร้อยละที่กำหนดข้างต้น     


  บางส่วนจากบทความ “การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 203  เดือนธันวาคม 2563



Tax Knowledge : Tax Talk : TaxBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT ธันวาคม 2563


FaLang translation system by Faboba