ภาษีกับสิ่งที่บริษัทมอบให้แก่พนักงาน...ประเด็นที่ควรรู้

โดย

 


2 ประเด็นสำคัญจากการจ่ายผลตอบแทนของบริษัท


ผลตอบแทนต่างๆ ที่บริษัทหรือนายจ้างจ่ายให้ มีประเด็นสำคัญที่ควรนำมาใช้ในการพิจารณาวางแผนการดำเนินงานต่างๆ 
ดังต่อไปนี้  

นายจ้าง : จ่ายอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด
โดยลักษณะของการจ่ายแล้ว สิ่งที่นายจ้างหรือบริษัทต้องคิดในประเด็นแรก คือ รายจ่ายที่จ่ายไปนั้นสามารถเป็นรายจ่าย
ของธุรกิจ (นิติบุคคล) ในการคำนวณค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เงื่อนไขสำคัญจะอยู่ที่มาตรา 65 ตรี
ทั้ง 2 ข้อดังนี้
● มาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล รายจ่ายในข้อนี้จะตั้งคำถามจาก
การเลือกปฏิบัติในฐานะของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างว่า มีการให้เป็นการทั่วไปหรือไม่ หรือว่ามีอะไรที่พิเศษกว่าปกติ เพราะ
จะทำให้เข้าข่ายว่าเป็นรายจ่ายส่วนตัว ซึ่งไม่สามารถเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
● มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งในกรณีนี้ต้องระวังในการจ่ายเรื่องที่
ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง และไม่ได้ดำเนินการในฐานะพนักงานของบริษัท ซึ่งก็ไม่สามารถเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี
เงินได้นิติบุคคลได้เช่นเดียวกัน

พนักงาน : เงินที่ได้รับถือเป็นเงินได้?
นอกจากนั้นแล้ว ในฝั่งของพนักงานสิ่งที่ต้องตั้งคำถามต่อคือ “เงินได้ที่ได้รับนี้ ถือเป็นเงินได้หรือไม่” ซึ่งตรงนี้ต้องไปดูข้อ
ยกเว้นในมาตรา 42 ที่เกี่ยวข้องบางประเด็นว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างได้รับสิทธิยกเว้นนี้
(1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้าง หรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตาม
ความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
(2) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ
(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษา
พยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
(ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศ
เป็นครั้งคราว
(3) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัย ที่ประกอบกิจการใน
ราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ
(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาล
ในประเทศไทย
(ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็น
ครั้งคราว

จากตัวอย่างคร่าว ๆ จะเห็นว่าในกรณีของกลุ่มนี้เป็นรายจ่ายที่จ่ายแล้วได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ไม่ต้องถือเป็นเงินได้ใน
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งถ้าหากเป็นการจ่ายในลักษณะนี้ก็จะไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของพนักงาน
 

  บางส่วนจากบทความ “ภาษีกับสิ่งที่บริษัทมอบให้แก่พนักงาน...ประเด็นที่ควรรู้”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 205  เดือนมกราคม  2564



Tax Knowledge : Tax Talk : TaxBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT มกราคม  2564


FaLang translation system by Faboba