e-Donation การบริจาคอิเล็กทรอนิกส์

โดย

 

 
 กฎหมายเพื่อรองรับระบบ e-Donation ยกเว้น...เสียภาษี อย่างไร?


กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายเพื่อรองรับระบบ e-Donation ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย
การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 มีเนื้อหา ดังนี้

1.พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน 24 กันยายน 2563 เป็นต้นไป

2.“สถานศึกษา” หมายความว่า
2.1สถานศึกษาของรัฐ
2.2โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
2.3สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
2.4สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชำนัญพิเศษ
แห่งสหประชาชาติ “ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบที่ใช้สร้างและเก็บรักษาข้อมูลการบริจาคในรูปของ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

3.ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้กระทำตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
3.1สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน เป็นจำนวน 2 เท่า
ของจำนวนเงินที่บริจาค เฉพาะการบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
3.2สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่าย
เป็นเงินหรือทรัพย์สิน การได้รับยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

4.การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
4.1ต้องนำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ มารวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของเงินที่ได้จ่ายตามกรณีที่กำหนดไว้ และไม่เกิน
ร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน
4.2 เมื่อรวมคำนวณเงินได้แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน

5.การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
5.1ต้องนำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ มารวมคำนวณกับรายจ่ายที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่าย และไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ
ก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
5.2เมื่อรวมคำนวณรายจ่ายแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการ
สาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา

6. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจาก
การบริจาคให้แก่สถานศึกษา โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้า ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็น
ค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ สำหรับการบริจาคที่ได้กระทำ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
อธิบดีประกาศกำหนด

7. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องไม่นำเงิน
บริจาคที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวไปหักลดหย่อนเป็นเงินบริจาคอื่น หรือต้องไม่นำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้ใช้สิทธิ
ยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีประกาศ
กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี หรือยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 แล้วแต่กรณีอีก


   
      บางส่วนจากบทความ “e-Donation การบริจาคอิเล็กทรอนิกส์”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 471 เดือนมกราคม 2564 




Tax Talk : Tax Tips : วินัย ปณิธานรักษ์ชัย
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มกราคม 2564



FaLang translation system by Faboba