สัญญารับขนคนโดยสาร (ภายในประเทศ) และภาระภาษี

โดย

 

 
 5 ภาระภาษีสัญญารับขนคนโดยสาร ภายในประเทศ เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องศึกษา


สรุปภาระภาษีสัญญารับขนคนโดยสาร (ภายในประเทศ)
ประเภทเงินได้ เงินได้ประเภทที่ 8 ( ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) )
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1. กรณีเป็นผู้ให้บริการ (ผู้ขนส่ง) ค่าโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและ
ประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากการขนส่งที่ได้รับหรือพึงได้รับ ต้องเสีย
ภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ
2. กรณีเป็นผู้รับบริการ สามารถนำรายจ่ายค่าขนส่งไปหักออกจาก
รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 หรือหัก
ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
2. เงินได้ (ค่าโดยสาร) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน
ต้องนำมารวมคำนวณและเสียภาษีครึ่งปีตามแบบ ภ.ง.ด.94 ภายใน
วันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน
3. เงินได้ (ค่าโดยสาร) ที่ได้รับทั้งปีต้องนำมารวมคำนวณและ
เสียภาษีประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของ
ปีถัดไป
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1. กรณีบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายค่าขนส่ง
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ในอัตราร้อยละ 1
2. กรณีบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายค่าขนส่ง
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
(ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม) มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา
ร้อยละ 1
ยกเว้น การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ ผู้จ่ายเงินได้
(ค่าโดยสาร) ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม   ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
อากรแสตมป์  ไม่เสียอากรแสตมป์



   
      บางส่วนจากบทความ “สัญญารับขนคนโดยสาร (ภายในประเทศ) และภาระภาษี”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 471 เดือนมกราคม 2564 




Laws & News : Business Law : รัฐวุฒิ จิตร์ชนะ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มกราคม 2564



FaLang translation system by Faboba