ยกระดับสมรรถนะ HR เพื่อขับเคลื่อนองค์การสู่ทางรอดในธุรกิจ

โดย

 

 

5 สมรรถนะ HR ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอด


การทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากมากนักที่จะทำได้
นอกเหนือจากที่ผู้บริหารระดับสูงจะต้องวางแผนเพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอดแล้ว บุคลากรในองค์การก็เช่นเดียวกันที่จะต้อง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การทำงานแบบเดิมๆ ด้วยผลงานแบบเดิมที่เคยทำได้นั้นจะไม่สามารถช่วยให้องค์กร
ฟันฝ่าอุปสรรคที่เกิดขึ้น รูปแบบการทำงานของบุคลากรจึงต้องเปลี่ยนแปลงไป 

เช่นเดียวกับนัก HR  (Human Resource หรือทรัพยากรบุคคล) ที่ในปัจจุบันภาพลักษณ์ของหน่วยงาน HR ได้เปลี่ยนไป
เป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนให้บุคลากรสร้างผลงานที่ตอบโจทย์เป้าหมายขององค์การ นัก HR จึงต้องเร่งพัฒนาสมรรถนะ
ของตนเองเพื่อเป็นคู่คิดหรือ Business Partner ให้กับองค์การในการช่วยหาระบบและเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้คนเติบโต
และพร้อมที่จะอยู่เคียงคู่กับองค์การด้วยการสร้างรายได้และสร้างโอกาสทางรอดให้กับการดำเนินธุรกิจ

ผู้เขียนขอนำเสนอ 5 สมรรถนะของนัก HR เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจอยู่รอดและสามารถเติบโตได้ในอนาคต ได้แก่ 

01 : Empathy Mindset นัก HR จะต้องมีกรอบแนวคิดแบบเห็นอกเห็นใจและเข้าใจบุคลากรในองค์การอย่างแท้จริง
หรือที่เรียกว่า Empathy Mindset รู้ว่าอะไรคือความต้องการ ความรู้สึก ความอยากหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากพนักงานจริงๆ

02 : Digital Literacy สมรรถนะเรื่องนี้พูดกันมาในสมัยที่เน้น HR 4.0 ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทคโนโลยีดิจิทัล
ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดกันมาก่อนเหตุการณ์ COVID-19 เกิดขึ้นเสียอีก แต่ยังไม่มีการทำแบบจริงจังมากนัก จนกระทั่งเกิด
เหตุการณ์ COVID-19 องค์การต่างๆ ต้องหาทางรอดทางธุรกิจ จึงเกิดแนวคิดเรื่อง Work From Home ขึ้น เพื่อให้
พนักงานยังสามารถทำงานได้อโดยไม่ต้องเข้ามาพบกันที่องค์การ นัก HR จึงต้องเร่งปรับตัวเองเพื่อวางแผนการนำ
เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในทุกรูปแบบ

03 : Innovation Thinking การที่องค์การสามารถอยู่รอดได้ในธุรกิจ องค์การจะต้องคิดต่าง ทำต่างด้วยความรวดเร็ว
เป็นความคิดสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ทางอยู่รอดขององค์การไม่เพียงแค่การมีเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องไม้
เครื่องมือที่ทันสมัยเท่านั้น "คน" ถือว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะต้องสามารถคิดใหม่ ทำใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งบุคลากร
ในองค์การจะต้องช่วยกันคิดหาวิธีการและแนวทางเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด พบว่านัก HR ถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่จะช่วย
คิดใหม่ทำใหม่เพื่อช่วยให้องค์การอยู่รอดด้วยเช่นกัน

04 : Data Analyst Skills การทำงานของนัก HR จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือได้ โดยเฉพาะการมีข้อมูลเชิงสถิตที่ใช้
อ้างอิงปัญหาที่เกิดขึ้นรวมถึงการนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกแนวทางการดำเนินงานที่
เหมาะสม บนพื้นฐานของข้อมูลที่วิเคราะห์ได้

05 : Growth Mindset หน่วยงาน HR จะเป็นหน่วยงานที่เป็นเพื่อนคู่คิด คอยช่วยให้ผู้บริหารมีไอเดียและมุมมอง
ในการบริหารและพัฒนาบุคลากรในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นัก HR จึงเป็นเสมือน Role Model ที่เป็นตัวอย่างในการสร้าง
แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรในองค์การฟันฝ่าปัญหาที่เกิดขึ้น การมีกรอบแนวคิดแบบเติบโตหรือ Growth Mindset
จึงจะช่วยทำให้นัก HR มองปัญหาคือบทเรียนที่ช่วยทำให้ตนเองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 

  บางส่วนจากบทความ  “ยกระดับสมรรถนะ HR เพื่อขับเคลื่อนองค์การสู่ทางรอดในธุรกิจ”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนกุมภาพันธ์ 2564



HRM/HRD : Performance Management : ดร. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ 
วารสาร : HR Society Magazine กุมภาพันธ์ 2564



FaLang translation system by Faboba