Update กฎหมายแรงงานที่องค์กรและ HR ต้องรู้

โดย

 

 

ฉบับนี้ชวนคุณผู้อ่านพูดคุยและ Update ข้อกฎหมายที่องค์กรและ HR ต้องรู้และให้ความใส่ใจ โดยในครั้งนี้
คุณกัมพล ทรัพย์ปรุง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญ
คร่ำวอดในวงการมากว่า 23 ปี ได้ให้เกียรติร่วมพูดคุยและให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงงาน
กับเราค่ะ  

กฎหมายแรงงาน มีความสำคัญกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างไรบ้างคะ
“กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากในภาคธุรกิจ เพราะภาคธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยคน จึงเกิดเป็น
ความสัมพันธ์ขึ้นในทางกฎหมายระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ด้วยเหตุนี้ กฎหมายแรงงานจึงกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างลูกจ้างต้องปฏิบัติต่อกันอย่างมีกรอบมีเกณฑ์มาตรฐาน และคุ้มครอง
สิทธิขั้นต่ำของทั้งสองฝ่าย โดยนายจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างได้รับสิทธิสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้ ย่อมเป็นประโยชน์
แก่ลูกจ้าง และอาจเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการให้ลูกจ้างอยู่กับนายจ้างนานๆ ก็ได้
เมื่อนายจ้างและลูกจ้างต่างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างครบถ้วนเพียงพอแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ภาคธุรกิจ
และอุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่เกิดปัญหาที่สะดุดจากข้อพิพาทที่เกิดจากแรงงานในที่สุดได้
ด้วยเหตุนี้การที่นายจ้างและลูกจ้างต่างยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน จึงเป็นการแก้ปัญหาในระดับจุลภาคที่ส่งผลต่อ
ระดับมหภาคและระดับประเทศต่อไป กฎหมายแรงงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นายจ้างลูกจ้างทุกคน โดยเฉพาะคน HR
จำเป็นต้องศึกษาและรู้ให้รอบด้านครับ”

กฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ HR และคนทำงานควรรู้มีอะไรบ้างคะ และมีกฎหมายแรงงาน
ตัวไหนที่มี Update หรือมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ

“ถ้าถามว่าคน HR ควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องอะไรบ้างนั้น ก็คงต้องตอบว่า
คน HR ควรมีความรู้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั้งหมด หาก HR ไม่มีความรู้ในกฎหมายแรงงานอย่างเพียงพอ
ก็อาจทำให้นายจ้างใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ข้อพิพาทแรงงานก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงขอแบ่งช่วงเวลาของ
การทำงานที่มีนัยสำคัญเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ 1) ช่วงเริ่มต้นการจ้างงาน 2) ช่วงระหว่างการจ้างงาน และ 3) ช่วงสิ้นสุด
การจ้างงาน

กฎหมายข้อใดบ้างคะที่องค์กรและ HR ต้องใส่ใจและระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตของการแพร่ระบาด
ของ Covid-19 เช่น มีการเลิกจ้าง หยุดงานแบบไม่จ่ายเงินเดือน หรือจ่ายแค่บางส่วน หรืออื่นๆ 

“อย่างที่ทุกท่านทราบ ต้นทุนพนักงาน ซึ่งรวมถึงสวัสดิการและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน ถือว่าเป็นหนึ่งใน
ต้นทุนก้อนใหญ่ของหลายๆ องค์กร โดยในภาคการผลิต ต้นทุนของพนักงานอาจจะมีได้ตั้งแต่ร้อยละ 30 - 50 ส่วนใน
ภาคบริการต้นทุนของพนักงานอาจมีมากสูงไปถึงร้อยละ 70 - 80 หรือกว่านั้นเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ในช่วงภาวะวิกฤต
การแพร่ระบาดของ Covid-19 เมื่อรายได้ขององค์กรลดลง การลดต้นทุนจึงถือเป็นมาตรการอันหนึ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้
เมื่อต้นทุนพนักงานเป็นต้นทุนก้อนที่ใหญ่ การลดต้นทุนพนักงานจึงเกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น การลดค่าตอบแทนของลูกจ้าง
ลง หรือการปรับลดจำนวนลูกจ้างลงก็เป็นสิ่งจำเป็นอันยากที่จะหลีกเลี่ยงของหลายๆ องค์กรในช่วงเวลายากลำบากนี้
ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การเกษียณอายุก่อนกำหนด หรือที่เรียกกันหลายแบบว่า โครงการจำใจจากบ้าง โครงการสมัครใจ
เกษียณก่อนกำหนดบ้าง หรือการเลิกจ้างไปเลย หรือการลดเงินเดือนชั่วคราว หรือการให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่รับเงินเดือน
หรือที่เรียกว่า “Leave Without Pay” หรือใช้วิธีการสลับกันมาทำงานและได้รับค่าจ้างตามที่มาทำงาน เป็นต้น
ซึ่งก็แล้วแต่จะพิจารณาตามความเหมาะสม
และเพื่อมิให้เกิดประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ ผมจึงเสนอว่าหากนายจ้างและลูกจ้างต่างเห็นพ้องต้องกันดังกล่าวแล้วก็ควรจัด
ทำความตกลงของทั้งสองฝ่ายระหว่างไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามหลักความยินยอมให้ชัดเจน”

กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทของผู้ประกอบการ HR พนักงาน หรือในฐานะประชาชน
การใส่ใจและหาความรู้เรื่องข้อกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึง
การดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อรู้และเข้าใจจะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจาก
ข้อขัดแย้งต่างๆ ลงไปได้นั่นเอง

 

  บางส่วนจากบทความ  “Update กฎหมายแรงงานที่องค์กรและ HR ต้องรู้”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนกุมภาพันธ์ 2564



HRM/HRD : Cover Story : กองบรรณาธิการ 
วารสาร : HR Society Magazine กุมภาพันธ์ 2564



FaLang translation system by Faboba