"ถ่ายรูปติดคนอื่น" ควรทำอย่างไร จะทำให้ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้ไหม

โดย

 

“การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ให้เก็บรวบรวมได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคล” (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 22 | พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. 2562) 

กฎหมายนี้ จะเปลี่ยนวิถีเดิมๆ ของคุณให้กลายเป็นความเป็นปกติสามัญแบบแผนใหม่ หรือ New Normal ในการโพสต์
แชร์ โชว์ และถ่ายภาพต่างๆ โดยเฉพาะที่ทากับตัว “คน” ไปโดยสิ้นเชิง ได้แก่... 

1) ห้ามถ่ายรูปติดภาพคนอื่น ถ้าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ยินยอม (เจ้าของรูปที่เราไปถ่าย ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
แต่อยู่หลังเราและหันมาให้เราเห็นหน้าจะๆ รู้ว่าใครเป็นใคร โดยที่เราไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือไปทำความรู้จัก)
(พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 19 วรรค 1)
เว้นแต่เบลอภาพไว้ หรือทำอย่างไรก็ได้ ไม่ให้รู้ว่าเป็นใคร แต่ก็ไม่ได้ห้ามถ้าคุณจะถ่ายคู่หรือติดลิงหรือสัตว์ สิ่งของ อาคาร
วิว ทิวทัศน์ วัตถุ อาหาร สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่ไม่ใช่คน และต้องไม่ทำให้ระบุถึงคนๆ นั้นด้วย เช่น ผลตรวจเลือด x-ray
film ทะเบียนรถ บ้านที่อยู่ โลเคชั่น อีเมล์ส่วนตัว เบอร์โทรศัพท์ IP address เป็นต้น เพราะถ้าสอบกลับก็จะรู้ได้เลย
ว่าเป็นของใคร

2) จะขอความยินยอมให้ดูด้วยว่าจะทำอย่างไรถ้าทำเป็นหนังสือไม่ได้ (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา 19 วรรค 2) เช่น ตอบตกลงว่ายอมด้วยวาจาก็ต้องระวัง เผลอๆ เจ้าของรูปไปฟ้องบอกว่าไม่ได้ยินยอม เราเอง
จะยุ่ง อาจใช้วิธีให้ความยินยอมผ่านการคลิกในระบบ iT ก็ได้ หรือจะบอกโดยใช้ Sticker line ที่เป็นอันรู้ด้วยนะว่า
หมายถึงตกลงหรือไม่ตกลงอย่างนี้ เป็นต้น

3) จะถ่ายรูปเขาก็ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ให้เจ้าของรูปรู้ด้วยว่าจะเอาไปทำอะไร (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา 19 วรรค 3) ไม่ไปทึกทัก ซี้ซั้ว บอกว่าจะเอาไปลง facebook แต่ไม่เท่านั้น กลับเอาไปลง Instagram
ลง YouTube เอาไปตัดต่อเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ อย่างนี้ผิดวัตถุประสงค์

4) เจ้าของรูปต้องมีความเป็นอิสระที่จะให้ความยินยอมห้ามไปบังคับ (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา 19 วรรค 4) ไปขู่เข็ญหรือหลอกลวง ใช้เล่ห์เพทุบายให้ได้มา

5) เจ้าของรูปขอให้เอารูปที่เคยยินยอมไปแล้ว แต่ขอเปลี่ยนใจภายหลังย่อมทำได้เสมอ (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคล มาตรา 19 วรรค 5) รูปดังกล่าวเป็นสมบัติของเขา เป็นข้อมูลส่วนบุคคลเจ้าของทวงคืนหวงแหนหรือไม่อยากให้
โชว์อีกต่อไปแล้ว คุณก็ต้องเอาออกไป ถ้าเสียดายว่ามีเราอยู่ด้วย ก็ต้องเบลอจะได้ไม่รู้ว่าอีกคนเป็นใครในรูปนั้น

6) รูปที่ถ่ายไว้แล้วเอาไปโพสต์ ถ้ามีผลกระทบกับเจ้าของรูปถ่ายต้องแจ้งให้เจ้าของรูปรู้ตัวไว้ด้วย จะทำเนียนเมินเฉยไม่ได้
(พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 19 วรรค 6)

 ในกรณีที่มีการนำข้อมูลไปใช้ เพื่อทำวิจัยหรือสร้างข้อมูลในเชิงสถิติสามารถทำได้ ถ้ามีการใช้มาตรการที่เหมาะสม
เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลอย่างเพียงพอ โดยใช้ “มาตรการทางเทคนิค” และ “มาตรการในองค์กร”
เพื่อลดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลลงให้มากที่สุด เช่น เทคนิคการทำ Data Masking หรือทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม
(Anonymous Data) หรือข้อมูลแฝงที่ถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีก โดยวิธีการทางเทคนิค
(Pseudonymous Data) ซึ่งคือ การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลบางประการที่ปรากฎอยู่ในฐานข้อมูล จนทำให้ไม่ทราบว่า
ผู้ใดเป็นเจ้าของข้อมูลที่แท้จริง โดยการสร้างกระบวนการทางเทคนิคในลักษณะนี้

ข้อมูลจะแสดงผลในรูปแบบนามแฝงเพื่อทำให้ผู้เข้าถึงข้อมูลไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้

ฉะนั้น ถ้าเรารู้ได้ว่าเป็นรูปใคร และไม่ได้ผ่านการทำให้ไม่รู้ว่าเป็นใครแล้วล่ะก็ เวลาจะถ่ายรูปติดใครๆ ก็ต้องระวังหน่อยและ
เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วงเวลานี้จนกว่าจะถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถือเป็นการซ้อมใหญ่ไว้ก่อน



  บางส่วนจากบทความ “ถ่ายรูปติดคนอื่น” ควรทำอย่างไร จะทำให้ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้ไหม”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 19 ฉบับที่ 219  เดือนมีนาคม 2564

 



HRM/HRD : สนทนาประสา HR : สุจิพงศ์  จันทร์ธร
วารสาร : CPD&ACCOUNT มีนาคม 2564


FaLang translation system by Faboba