การประยุกต์ OKR และ KPI สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน

โดย

 


KPI สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน


KPI (Key Performance Indicator)  คือการหาตัวชี้วัดเพื่อให้เกิดการควบคุมการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในทุกกิจกรรม
สร้างตัวชี้วัดผลงานของตำแหน่งงาน โดยส่วนใหญ่หลายองค์กรนำไปผูกกับการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือโบนัส
ในแต่ละปี โดยประเมินผลเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี โดย KPI ย่อมาจาก Key Performance Indicator
หมายถึง ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยจะแสดงให้เห็นรายละเอียดในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ
KPI เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานในปัจจุบัน เกิดจากการรวมกันของคำ 3 คำ
ที่มีความหมายในตัวเอง คือ Key Performance และ Indicator Key หมายถึง จุดหลัก หัวข้อหลัก หรือเป้าหมายหลัก
Performance หมายถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือ ผลของการกระทำ Indicator หมายถึง ตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัด
เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ KPI สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงินสามารถแสดงตัวอย่างในตาราง 


ตารางตัวชี้วัดผลงานของตำแหน่งงานสำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน

KPI ฝ่ายการเงิน KPI ฝ่ายบัญชี
จำนวนครั้งที่ต้องเบิกเงินเกินบัญชี ความแตกต่างของต้นทุนจริงกับต้นทุนมาตรฐาน
จำนวนครั้งที่จ่ายเงินล่าช้า จำนวนรายการที่มีการปรับปรุงจากผู้สอบบัญชี
อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ อัตราความสำเร็จของโครงการเทียบกับแผนงาน
จำนวนวันเฉลี่ยของอายุลูกหนี้ จำนวนครั้งที่นำส่งภาษีล่าช้า
จำนวนครั้งที่ยอดเงินในบัญชีไม่ตรงกับรายงาน จำนวนครั้งที่ปิดบัญชีล่าช้า
จำนวนครั้งที่เลื่อนการจ่ายเงินไม่พอจ่าย จำนวนครั้งที่คำนวณต้นทุนผิดพลาด


จากตารางทำให้เห็นภาพ KPI ที่แสดงตัวชี้วัดเพื่อให้เกิดการควบคุมการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในทุกกิจกรรม โดยสร้าง
ตัวชี้วัดผลงานของตำแหน่งงานทั้งฝ่ายบัญชีและการเงิน 


  บางส่วนจากบทความ “การประยุกต์ OKR และ KPI สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 209 เดือนพฤษภาคม 2564

 




Accounting Style : CPD Talk : ดร. ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์ 
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤษภาคม 2564


FaLang translation system by Faboba