เทคนิคการจูงใจรักษาบุคลากรด้วย "Onboarding Program"

โดย

 

 
 Onboarding Program กับ Orientation แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อกระบวนการสรรหาบุคคลผ่านไป และบุคลากรเข้ามาในองค์การแล้ว คำถามที่จะตามมาก็คือ "จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้
รู้สึกดีกับองค์การ รู้สึกประทับใจในการทำงาน และเกิดความผูกพันกับองค์การ" โดยมีวิธีการมากมายที่สามารถนำมาใช้ได้
และกระบวนการหนึ่งที่องค์การจะต้องดำเนินการก่อนเลย คือการทำ Onboarding Program หรือโปรแกรม
ที่ดูแลบุคลากรใหม่


การทำ Onboarding Program ไม่ใช่การทำ Orientation (ปฐมนิเทศ) เพราะ Orientation เป็นซับเซ็ตหรือเป็น
ส่วนหนึ่งของ Onboarding Program และโดยส่วนใหญ่องค์การจะทำ Orientation ให้กับพนักงานมากกว่า
การทำโปรแกรมการต้อนรับและจูงใจพนักงานหรือ Onboarding Program

ทั้งสองแนวคิดนี้มีความแตกต่างกัน ดังนี้

Onboarding Program Orientation
 • ใช้ระยะเวลาตั้งแต่ก่อนเริ่มเข้ามาทำงานจนถึง
 หนึ่งปี ซึ่งบางองค์การมีการต้อนรับและดูแล
 บุคลากรอย่างต่อเนื่องสามหรือห้าปี
 • ใช้ระยะเวลาสั้นภายในครึ่งวัน หรือหนึ่ง
 /สองวัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ออกแบบ

 • กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรใหม่ประกอบด้วย
 1. พนักงาน/ผู้บริหารใหม่ที่เพิ่งเข้ามาร่วมงาน
 กับองค์การ
 2. บุคลากรที่เพิ่งปรับตำแหน่งขึ้นมาเป็น
 ผู้บริหารทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง
 • กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรใหม่ประกอบ
 ด้วยพนักงาน/ผู้บริหารใหม่ที่เพิ่งเข้ามา
 ร่วมงานกับองค์การ


 • บุคคลที่รับผิดชอบมีหลากหลายกลุ่มที่เรียกว่า
 Stakeholder ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง
 ผู้บังคับบัญชา ทีม HR และบุคคลอื่นๆ
 ที่เกี่ยวข้อง
 • บุคคลที่รับผิดชอบหลักคือหน่วยงาน HR
 โดยจะมีผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารของ
 หน่วยงานมาร่วมในช่วงปฐมนิเทศพนักงานใหม่

 • มีการจัดหาพี่เลี้ยงคอยรับฟังปัญหา
 ให้คำปรึกษาแนะนำ ให้กำลังใจ และติดตาม
 การทำงานของพนักงานใหม่และ/หรือผู้บริหาร
 ใหม่ในช่วง Onboarding Program
 • มีการจัดหาวิทยากรโดยส่วนใหญ่เป็น
 นัก HR และผู้บริหารของหน่วยงานหลัก
 ในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล
 องค์การที่จำเป็นแก่พนักงานใหม่
 • นัก HR ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงและ
 ผู้บริหารของหน่วยงานต่างๆ ในการออกแบบ
 กิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทขององค์การ
 ในช่วงการทำ Onboarding Program

 • นัก HR เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ
 กิจกรรมในช่วงปฐมนิเทศพนักงานใหม่
 โดยประสานงานกับผู้บริหารของหน่วยงาน
 หลักในการพาพนักงานใหม่เดินชม
 การทำงานของหน่วยงาน
 • มีระบบการพัฒนาเพื่อฝึกทักษะของพนักงาน
 ใหม่/ผู้บริหารใหม่ ด้วยการโค้ชและการทำ
 OJT (On the Job Training)

 • เน้นการอบรมในห้องเรียน
 (Classroom Training) เพื่อให้ความรู้
 แก่พนักงานเกี่ยวกับข้อมูลองค์การ และ
 การพาพนักงานใหม่เดินชมหน่วยงานหลัก



การจัดกิจกรรมในช่วงปฐมนิเทศจึงมุ่งเน้นให้พนักงานใหม่ทำความรู้จักองค์การ ในด้านลักษณะของธุรกิจ ผังโครงสร้าง
องค์การและหน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูงขององค์การและหน่วยงาน กระบวนการทางธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับการทำงาน
สวัสดิการที่พนักงานใหม่จะได้รับ สถานที่ที่พนักงานใหม่จำเป็นต้องรู้ เช่น ห้องอาหาร ห้องน้ำ ห้องสมุด ชมรม รวมถึง
การจัดกิจกรรมให้พนักงานใหม่รู้จักกันเอง 

ส่วน Onboarding Program นั้น ไม่ได้ทำเพียงแค่วันหรือสองวัน แต่เป็นแผนการดูแลพนักงานระยะยาวที่ไม่ใช่แค่
พนักงานใหม่เท่านั้น โปรแกรมนี้จะรวมถึงการเป็นผู้บริหารใหม่ที่ได้รับการปรับตำแหน่งงานขึ้นมาจากพนักงานเป็น
หัวหน้างาน หรือจากหัวหน้างานเป็นผู้จัดการ หรือจากผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการด้วย และมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้บุคลากร
เกิดความรู้สึกประทับใจจากการต้อนรับที่ดีขององค์การ และกลายเป็นกระบอกเสียงในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การ
ต่อไป รวมถึงทำให้บุคลากรสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การใหม่ เข้าใจถึงลักษณะธุรกิจขององค์การ ผังโครงสร้าง
องค์การ/หน่วยงาน ระเบียบข้อบังคับการทำงาน สวัสดิการที่ควรได้รับ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน
ผลการปฏิบัติงานและความสามารถที่คาดหวัง และเป็นช่องทางในการพัฒนาความสามารถของพนักงาน สร้างความรู้สึกผูกพัน
(Employee Engagement) ให้กับบุคลากรใหม่ และทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว 

การทำ Onboarding Program จึงเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับแนวคิดของ HRD
(Human Resource Development) ที่เน้นการพัฒนาการทำงานของพนักงานโดยเน้นไปที่พนักงานใหม่และบุคลากร
ใหม่ที่เพิ่งได้รับการปรับตำแหน่งงาน 



  บางส่วนจากบทความ  “เทคนิคการจูงใจรักษาบุคลากรด้วย "Onboarding Program”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 221 เดือนพฤษภาคม 2564



HRM/HRD : Performance Management : ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์
วารสาร : HR Society Magazine พฤษภาคม 2564



FaLang translation system by Faboba