กฎหมายใหม่ อัตราดอกเบี้ยใหม่ มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง

โดย

 


การคิดดอกเบี้ยในการผิดนัด  ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564



สิ่งที่แก้ไขในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมมีดังนี้
มาตรา ๒๒๔ หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา ๗ บวกด้วย อัตราเพิ่มร้อยละสอง
ต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่น อันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น

ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดการพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกจากนั้น ให้พิสูจน์ได้

การคิดดอกเบี้ยในการผิดนัด ซึ่งจากเดิมจะอยู่ในอัตราที่เท่ากับอัตราเดิมในมาตรา 7 (เดิม) คือ ร้อยละ 7.5 ต่อปี
แต่พระราชกำหนดได้กำหนดให้แก้ไขเป็นร้อยละตามมาตรา 7 (ใหม่) บวกด้วยร้อยละ 2 ซึ่งในตอนนี้ก็คือร้อยละ 5 ต่อปี
ครับ (มาจากร้อยละ 3+2) 

ซึ่งประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาก็คือการปรับเปลี่ยนแบบนี้อาจจะเป็นผลดีกับลูกหนี้กรณีที่มีการเรียกดอกเบี้ยจากค่าเสียหาย
กรณีละเมิด (ดอกเบี้ยผิดนัด) เพราะก่อนหน้านี้อาจจะมีหลายคดีใช้วิธียืดเวลาคดีออกไปเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นก็เป็น
ได้ครับ 

และจากการระบุว่าไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยกับการพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่น ยังเป็นแนวทางตามกฎหมายเดิมที่เคย
มีครับ ซึ่งตรงนี้เป็รเรื่องของการพิสูจน์ค่าเสียหายยังถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า เจ้าหนี้เองจะพิสูจน์อย่างไรที่ไม่เกินกว่าเหตุ
และแค่การเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดนัดก็น่าจะเพียงพอแล้วหรือไม่

มาตรา ๒๒๔/๑ ถ้าลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวด และลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ย
ในระหว่างเวลาผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น

ข้อตกลงใดขัดกับความในวรรคหนึ่ง ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

สำหรับมาตรานี้เป็นตัวเพิ่มเข้ามาจากเดิมที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้องการจะช่วยเหลือลูกหนี้ ในกรณีที่ผิดนัดกรณี
ชำระเป็นงวดไม่ให้เจอภาระหนักเกินไป ถ้าผิดงวดไหนก็ให้เรียกแค่ส่วนของเงินต้นก้อนนั้น ซึ่งค่อนข้างยุติธรรมกับลูกหนี้
มากขึ้นเช่นกัน



  บางส่วนจากบทความ “กฎหมายใหม่ อัตราดอกเบี้ยใหม่  มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 210 เดือนมิถุนายน 2564

 



Tax  Talk : Tax knowledge : TaxBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT มิถุนายน 2564


FaLang translation system by Faboba