การพัฒนาบุคลากรเชิงรุกในศตวรรษที่ 21

โดย

 

 
 Learn, Relearn และ Unlearn แตกต่างกันอย่างไร

Learning Model เป็นรูปแบบการเรียนรู้ของคนที่ประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่

Learn :
เป็นการเรียนรู้แนวคิด หลักการ ขั้นตอนปฏิบัติในเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย พบว่ามีแนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา
เช่น แนวคิด Design Thinking, OKRs, Scrum Project Management, การปรับใช้สื่อดิจิทัลและ IT ในการทำงาน
เป็นต้น การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีคำกล่าวที่ว่า "ผู้ใดหยุดการเรียนรู้ ผู้นั้นจะหยุดการพัฒนาตนเอง" และยิ่งใน
โลกยุค Disruptive World ที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่อง แอปพลิเคชันต่างๆ ตัวอย่างง่ายๆ
ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวก็คือ ผู้เขียนต้องเปิดใจเรียนรู้การใช้ Zoom, MS Team, WebEx ในการสอนและการประชุม เป็นต้น

Relearn :
เป็นการเรียนรู้แนวคิด หลักการ ขั้นตอนปฏิบัติในมุมมองใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ตัวเรามีพื้นความรู้อยู่แล้ว แต่เปิดใจที่จะเรียนรู้เรื่อง
เดิมแต่ในมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น เรามีความรู้และประสบการณ์การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล
(Individual Development Plan : IDP) จากการวิเคราะห์ Competency ของแต่ละคนเทียบกับ Competency
ที่คาดหวัง ซึ่งเราเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่โดยปรับใช้ IDP กับการทำ OKRs เพื่อสนับสนุนให้ OKRs ของแต่ละบุคคล
ประสบความสำเร็จ เป็นต้น

Unlearn :
เป็นการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จากความรู้และความเชื่อเดิมที่ตนเองมีอยู่ พร้อมและเปิดใจที่ยกเลิกความรู้และความเชื่อเดิมของ
ตนเองได้ทันที ไม่ยึดติดกับความรู้ ประสบการณ์ และความเชื่อเดิมๆ ที่เคยมีอยู่ โดยไม่แสดงพฤติกรรมการต่อต้านและ
ย้อนแย้งความรู้และความเชื่อใหม่ๆ ที่ได้รับ เช่น เราเชื่อว่าเพื่อนร่วมงานคนนี้เป็นคนดุ พูดเสียงดัง แต่เมื่อมีโอกาส
ได้ร่วมงานและใกล้ชิดกับเพื่อนคนนี้กลับพบว่าเพื่อนคนนี้ไม่ดุ (ถ้านั่งนิ่งๆ จะเป็นคนหน้าดุ) ใจดี ชอบช่วยเหลือคนอื่น
ที่พูดเสียงดังเพราะกลัวคนไม่ได้ยิน เป็นต้น
ดังนั้น การพัฒนาตนเองจากการ Learn, Relearn และ Unlearn นั้นจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในศตวรรษที่ 21 โดย
การเรียนรู้สมัยใหม่ไม่ได้มีเพียงแค่การอบรมในห้องเรียน (Classroom Training) เท่านั้น รูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้
ท่านเกิด Learn, Relearn และ Unlearn แบ่งเป็น 3 สัดส่วนได้แก่ 70:20:10 Learning Model ดังนี้

70% Learning Model : รูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้เกิด Learn, Relearn และ Unlearn โดยเน้นไปที่ประสบการณ์
จริงหรือ Learn by Experience ผู้เรียนอยู่ในสถานที่จริง ฝึกปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรงจากการลงมือ
ปฏิบัติจริงหรือเห็นของจริง เช่น การปฏิบัติจริงด้วยการทำ On the job training (OJT), การติดตามแม่แบบ
(Job Shadow) การรับผิดชอบงานพิเศษ (Job Assignment) และการรับผิดชอบโครงการพิเศษ
(Project Assignment) การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) เป็นต้น

20% Learning Model : รูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้เกิด Learn, Relearn และ Unlearn โดยเน้นไปที่การแลกเปลี่ยน
พูดคุยกับผู้อื่น หรือ Learn by Others เป็นการเรียนรู้จากบุคคลอื่น เช่น การโค้ช (Coaching) การพูดคุยกับพี่เลี้ยง
(Mentoring) การประชุม (Meeting) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้รู้ การ Show and Share กรณีศึกษา และ
การให้/ขอคำปรึกษา เป็นต้น

10% Learning Model : รูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้เกิด Learn , Relearn และ Unlearn โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิด
ความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวคิดและทฤษฎีในเรื่องนั้นๆ หรือ Learn by Education เป็นการเรียนจากการเข้าอบรม
ในห้องเรียน (Classroom Training) ไม่ว่าจะเป็น Face to Face การเรียนแบบเจอกันในห้องเรียน หรือการเรียนแบบ Virtual Classroom เสมือนอยู่ในห้องเรียนจริงผ่าน Zoom, MS Team หรือ WebEx รวมถึงการเรียนด้วยตนเอง
จากสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ (Self Learning) เช่น หนังสือ ดูคลิปหรือจาก YouTube เป็นต้น

พบว่าแนวคิด Learn, Relearn และ Unlearn เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองผ่านช่องทางหรือรูปแบบ
การเรียนรู้ต่างๆ ในลักษณะของ 70:20:10 Learning Model เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะของตนเองส่งให้
บุคลากรเกิด Skill ใหม่ๆ จนก่อให้เกิดการ Upskill และ Reskill ขึ้น

  บางส่วนจากบทความ  “การพัฒานบุคลากรเชิงรุกในศตวรรษที่ 21”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 221 เดือนมิถุนายน 2564

HRM/HRD : Performance Management  : ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์
วารสาร : HR Society Magazine มิถุนายน 2564



FaLang translation system by Faboba