ข้อมูลใดถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลใดไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคล

โดย

 



[Personal Data] “ข้อมูลส่วนบุคคล”
หมายถึง ข้อมูลใดๆที่ระบุไปถึง “เจ้าของข้อมูล” (Data Subject) ไม่ว่าทางตรง
หรือทางอ้อม โดยไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ที่ถึงแก่กรรม

[Data Subject] “เจ้าของข้อมูล” หมายถึง บุคคลที่ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นระบุไปถึง ไม่ใช่กรณีที่บุคคลมีความเป็นเจ้าของ
ข้อมูล หรือเป็นนผู้สร้างหรือเก็บ รวบรวมข้อมูล

ข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
1. ชื่อ-นามสกุล หรือชื่อเล่น
2. เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับ ขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี,
เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต
3. ที่อยู่, อีเมล์, เลขโทรศัพท์
4. ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP address, MAC address, Cookie ID
5. ข้อมูลทางชีวมิติ(Biometric) เช่น รูปภาพใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ฟิล์มเอกซเรย์, ข้อมูล สแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์
เสียง, ข้อมูลพันธุกรรม
6. ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน
7. ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิดและสถานที่เกิด, เชื้อชาติ, สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง,
ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่(location), ข้อมูลการแพทย์, ข้อมูล การศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลการจ้างงาน
8. ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิล์ม
9. ข้อมูลการประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง
10. ข้อมูลบันทึกต่างๆที่ใช้ติดตามตรวจสอบกิจกรรมต่างๆของบุคคล เช่น log file
11. ข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลที่ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
1. เลขทะเบียนบริษัท
2. ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์หรือ แฟกซ์ที่ทำงาน, ที่อยู่สำนักงาน,
อีเมล์ที่ใช้ในการทำงาน, อีเมล์ของบริษัท เช่น [email protected] เป็นต้น
3. ข้อมูลนิรนาม (Anonymous Data) หรือข้อมูลแฝง (Pseudonymous Data) หมายถึง ข้อมูลหรือชุดข้อมูลที่ถูกทำให้
ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีกโดยวิธีการทางเทคนิค
4. ข้อมูลผู้ตาย


อ้างอิง Thailand Data Protection Guidelines 3.0


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ข้อมูลใดถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลใดไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคล

 

 




FaLang translation system by Faboba