น้ำผลไม้คั้นสด ต้องเสียภาษีสรรพสามิตหรือไม่

โดย

 

 
น้ำผลไม้กับการเสียภาษีสรรพสามิต



“น้ำผลไม้” ที่ต้องเข้าสู่ระบบภาษีสรรพสามิตนั้น จะต้องครบองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้

1 “ต้องทำมาจากผลไม้”
โดยวิธีการผลิตอาจทำได้โดยใช้การปั่น อาจใช้การคั้นน้ำจากผลไม้ หรือทำโดยการนำผลไม้ไม่ว่าจะสดหรือแห้งไป
ต้มเพื่อให้ผสมหรือละลายในน้ำ หรืออาจทำโดยใช้กรรมวิธีอย่างอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำผลไม้ ทั้งนี้ น้ำผลไม้ที่ได้นั้น
อาจจะเติมน้ำตาลหรือเติมสารที่ทำให้หวานอื่นๆ หรือไม่เติมก็ได้

2 “ต้องไม่มีแอลกอฮอล์ หรือมีแอลกอฮอล์โดยปริมาตรไม่เกินร้อยละ 0.5”
กล่าวคือ โดยหลักแล้วน้ำผลไม้ที่ได้จากการผลิตดังกล่าวนั้นจะต้องไม่มีแอลกอฮอล์ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลไม้
บางชนิดเมื่อนำไปผลิตจนได้เป็นน้ำผลไม้แล้วโดยสภาพทางเคมีของน้ำผลไม้นั้นอาจเกิดแอลกอฮอล์ขึ้นได้ กรณีเช่นนี้
มีเกณฑ์ในการพิจารณาตามกฎหมาย คือ หากมีแอลกอฮอล์โดยปริมาตรไม่เกินร้อยละ 0.5 ก็ยังคงถือเป็นน้ำผลไม้
ตามพิกัดย่อยประเภทที่ 02.03
แต่หากมีแอลกอฮอล์โดยปริมาตรเกินกว่าร้อยละ 0.5 จะไม่ถือเป็นน้ำผลไม้ตามพิกัดย่อยประเภทที่ 02.03 และไม่
ถือเป็นสินค้าเครื่องดื่มในพิกัดใหญ่ตอนที่ 2 อีกต่อไป น้ำผลไม้ที่ได้นี้ในทางกฎหมายจะกลับกลายเป็นสินค้าสุราใน
พิกัดใหญ่ตอนที่ 13 ซึ่งมีหลักการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่แตกต่างไปจากสินค้าเครื่องดื่มอย่างสิ้นเชิง

3 “ต้องไม่มีการหมักและไม่มีการเติมสุรา”
หากมีการหมักและมีการเติมสุราเข้าไปในน้ำผลไม้นั้น แล้วปรากฏว่าผลจากการหมักและเติมสุราเข้าไปนั้นทำให้เกิดเป็น
แอลกอฮอล์ หากปรากฏว่ามีแอลกอฮอล์โดยปริมาตรไม่เกินร้อยละ 0.5 กรณีเช่นนี้แม้จะยังคงถือเป็นสินค้าเครื่องดื่มใน
พิกัดใหญ่ตอนที่ 2 แต่เครื่องดื่มที่ได้จะไม่ถือเป็นน้ำผลไม้ในพิกัดย่อยประเภทที่ 02.03 อีกต่อไป (แตกต่างจาก
องค์ประกอบข้อ 2) การหมักและการเติมสุราแล้วทำให้มีแอลกอฮอล์โดยปริมาตรไม่เกินร้อยละ 0.5 นั้น ผลในทางกฎหมาย
ภาษีสรรพสามิตจะถือเป็นเครื่องดื่มอื่นๆ ในพิกัดย่อยประเภทที่ 02.02 โดยจะถูกจัดให้อยู่ในประเภทพิกัดย่อยเดียวกันกับเครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มน้ำหวานกลิ่นรสต่างๆ เป็นต้น มิใช่น้ำผลไม้ในพิกัดย่อยประเภทที่ 02.03
แต่หากผลจากการหมักและเติมสุราเข้าไปนั้น ปรากฏผลว่าทำให้เกิดเป็นแอลกอฮอล์โดยปริมาตรเกินกว่าร้อยละ 0.5
น้ำผลไม้ที่ได้จะกลับกลายเป็นสินค้าสุราในพิกัดใหญ่ตอนที่ 13 (เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาในองค์ประกอบ
ประการที่ 2)




   
      บางส่วนจากบทความ “น้ำผลไม้คั้นสด ต้องเสียภาษีสรรพสามิตหรือไม่”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 40 ฉบับที่ 479 เดือนสิงหาคม  2564 




Tax Talk : Excise Tax  : อ.ประพันธ์ คงเอียด
วารสาร : เอกสารภาษีอากร สิงหาคม 2564 



FaLang translation system by Faboba