TFRS16 สัญญาเช่ากับหลักพิจารณาทางบัญชีที่ผู้เช่าต้องรู้

โดย

 


การพิจารณาสัญญาเช่าว่าเป็นสัญญาตามมาตรฐานหรือไม่



สิ่งที่นักบัญชีต้องพิจารณาว่าสัญญาเช่าที่กิจการทำจะถูกจัดเป็นสัญญาในขอบเขตมาตรฐานรายงานทางการเงินนี้หรือไม่ ประกอบไปด้วย
1.ไม่ใช่สัญญาเช่าตามข้อยกเว้น หรือสัญญาเช่าที่เป็นสัญญาเช่าอายุไม่ถึง 12 เดือน หรือเป็นสัญญาที่มีสินทรัพย์อ้างอิงนั้นมีมูลค่าต่ำ
    สินทรัพย์อ้างอิงมีมูลค่าต่ำ ผู้เช่าต้องประเมินมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิงโดยวัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ในสภาพใหม่           โดยไม่คำนึงถึงอายุของสินทรัพย์ที่เช่า ผู้เช่าแต่ละรายน่าจะได้ข้อสรุปเหมือนกันว่าสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ มีมูลค่าต่ำหรือไม่     ตัวอย่างของสินทรัพย์อ้างอิงมีมูลค่าต่ำ เช่นคอมพิวเตอร์แทบเล็ต และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รายการเครื่องตกแต่ง           สำนักงานและโทรศัพท์ เป็นต้น
2.สัญญาเช่าสามารถระบุ สินทรัพย์อ้างอิงได้ (Underlying Assets) หรือ สินทรัพย์ตามสัญญาเช่า ซึ่งผู้ให้เช่าให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์นั้นต่อผู้เช่า โดยทั่วไป จะเป็นสินทรัพย์ที่ระบุโดยกำหนดไว้อย่างชัดเจนในสัญญา เช่น การเช่าเครื่องจักรต้องระบุรุ่น สเปก ทะเบียนเครื่องจักร หรือ เช่ารถ ต้องระบุรุ่น สี และทะเบียนรถได้
3.สัญญาเช่าต้องระบุการให้ สิทธิการใช้สินทรัพย์ (Right-of-Use-Asset) หรือ สินทรัพย์สิทธิการใช้ สินทรัพย์ที่แสดงสิทธิของผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์อ้างอิง สำหรับช่วงอายุสัญญาเช่า โดยมีการระบุถึง
   3.1 สิทธิที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด จาการใช้สินทรัพย์ที่ระบุ ลูกค้าต้องมีสิทธิในการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดจากการใช้สินทรัพย์ตลอดระยะเวลาการใช้ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในหลายลักษณะ เช่น โดยการใช้ โดยการถือครอง หรือโดยการให้เช่าช่วงสินทรัพย์
   3.2 สิทธิในการกำกับการใช้สินทรัพย์ กิจการมีสิทธิสั่งการวิธีการใช้และวัตถุประสงค์ในการใช้สินทรัพย์ที่ระบุ ดังนี้
        - ผู้เช่ามีสิทธิในการกำกับว่าสินทรัพย์จะถูกใช้อย่างไร และเพื่อวัตถุประสงค์ใดตลอดระยะเวลา
การใช้สินทรัพย์ ตัวอย่างของสิทธิในการตัดสินใจที่ให้สิทธิในการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้และวัตถุประสงค์การใช้สินทรัพย์
ภายใต้ขอบเขตที่กำหนดของสิทธิในการใช้ของผู้เช่า แล้วแต่สถานการณ์ ได้แก่
       - สิทธิในการเปลี่ยนแปลงประเภทของผลผลิตที่ผลิตจากสินทรัพย์ (เช่น การตัดสินใจว่าจะใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อ
ขนส่งสินค้าหรือเพื่อเก็บรักษาสินค้า หรือการตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ขายในพื้นที่ค้าปลีก)
       - สิทธิในการเปลี่ยนแปลงว่าจะผลิตผลผลิตเมื่อใด (เช่น การตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องจักรหรือโรงงานไฟฟ้าเมื่อใด)
       - สิทธิในการเปลี่ยนแปลงว่าจะผลิตผลผลิตที่ใด (เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับจุดหมายของรถบรรทุกหรือเรือ หรือ
การตัดสินใจว่าจะใช้อุปกรณ์ที่ใด) และ
       - สิทธิในการเปลี่ยนแปลงว่าจะผลิตผลผลิตหรือไม่ และจะผลิตผลผลิตเท่าใด (เช่น การตัดสินใจว่าจะผลิตพลังงานจากโรงงานไฟฟ้าหรือไม่ และจะผลิตพลังงานจากโรงงานไฟฟ้าเท่าใด)
       - สิทธิในการกำกับหรือการใช้ดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อสิทธิในการป้องกันสินทรัพย์ของผู้จัดหาสินทรัพย์ที่ระบุในสัญญา เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้จัดหาสินทรัพย์ เช่น การกำหนดปริมาณการใช้สูงสุดของสินทรัพย์ หรือบังคับให้ลูกค้าแจ้งคู่ค้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่จะใช้สินทรัพย์ สิทธิเพื่อการคุ้มครองมักจะระบุขอบเขตของสิทธิการใช้ของลูกค้า แต่โดยลำพังแล้ว ไม่กีดกันลูกค้าในการมีสิทธิในการกำกับการใช้สินทรัพย์
   3.3 ผู้จัดหาสินทรัพย์ ไม่มีสิทธิหรือภาระผูกพันในการเปลี่ยนแปลงทดแทนสินทรัพย์ ตลอดระยะเวลาการใช้สินทรัพย์ ยกเว้นที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น การซ่อมแซม บำรุงรักษา


บางส่วนจากบทความ : “TFRS16 สัญญาเช่ากับหลักพิจารณาทางบัญชีที่ผู้เช่าต้องรู้”
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 213  เดือนกันยายน 2564

 



Tax Talk : CPD Talk : จักรพันธ์ พงษ์เภตรา
วารสาร : CPD&ACCOUNT กันยายน 2564


FaLang translation system by Faboba