นักบัญชีควรวางแนวปฏิบัติอย่างไร กับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541

โดย

 


นักบัญชีควรวางแนวปฏิบัติอย่างไร กับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541


1. ศึกษาข้อมูลลักษณะธุรกิจ ทำความเข้าใจ วัตถุดิบ - สินค้า ที่เสื่อมคุณภาพ มีตำหนิ หมดสมัยนิยม หมดอายุ และ
เศษซาก กำหนดความหมาย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
2. ศึกษาระบบกระบวนการปฏิบัติ ตามข้อ 1 โดยให้เปรียบเทียบกับแนวทางปฏิบัติ ตาม ป.79/2541 พิจารณาประเด็น
ที่ควรปรับปรุงเพิ่มเติม
   ข้อแนะนำ :
   • การจัดการระบบคลังสินค้า ควรแยกพื้นที่ และระบบฐานข้อมูล – เป็นคลังสินค้ารอการทำลาย
   • ควรมีการพิจารณาปริมาณที่เหมาะสมในการทำลาย โดยให้มีการตรวจสอบทุกไตรมาส (ถ้าทำปีละครั้ง ปริมาณอาจจะมาก ทำให้เสียต้นทุนในการจัดเก็บ / ข้อมูลอาจจะยากในการตรวจสอบ )
   • ควรทบทวนเอกสารหลักฐาน มีความเพียงพอ ความครบถ้วนในเนื้อหาสาระ การจัดเก็บ และมีรายงาน หรือไม่ เช่น
ใบรับคืนสินค้า เป็นต้น
   • ควรกำหนดบุคคลจากฝ่ายต่างๆ ในการรวมเป็นพยานในทำลายสินค้า ให้เป็นไปตามที่แนวทางปฏิบัติ ตาม ป.79/2541
ควรมีรูปถ่าย เป็นหลักฐานประกอบด้วย
   • ควรปรึกษาหารือกับผู้สอบบัญชีในการวางแผนงานร่วมกัน
   • ควรนำเสนอเรื่องการขออนุมัติ การทำลายของเสีย สินค้าและเศษซาก เป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงเมื่อทำลายเรียบร้อยแล้ว ควรต้องมีการจัดทำรายงานผลการทำลายสินค้า เสนอต่อผู้บริหารให้รับทราบด้วย
3. จัดทำระเบียบปฏิบัติ (คู่มือปฏิบัติงาน) “ การทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมด
สมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก” เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
4. ควรประชุมสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน อันจะช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น


บางส่วนจากบทความ : “นักบัญชีควรวางแนวทางปฏิบัติอย่างไร กับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541”
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 213  เดือนกันยายน 2564

 



Accounting Style : CPD Coach : Mr.knowin
วารสาร : CPD&ACCOUNT กันยายน 2564


FaLang translation system by Faboba