การยื่น Disclosure Form

โดย

 


 
การยื่น Disclosure Form


Disclosure Form คือ แบบรายงานประจำปีสำหรับนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คือ แบบรายงานที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันต้องจัดทำตามแบบที่กำหนด ยื่นแบบกระดาษภายใน 150 วัน ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต ภายใน 158 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

Disclosure Form แสดงข้อมูลอะไร ?

(1) รายชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ได้ประกอบการกิจการในประเทศไทย
(2) มูลค่าธุรกรรมในแต่ละรอบบัญชี
(3) ข้อมูลประกอบอื่น ๆ

ใครมีหน้าที่ยื่น Disclosure Form ?

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด
(2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด 
(3) นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่งตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
(4) มีรายได้ทั้งหมดที่ปรากฏตามงบการเงินในรอบระยะเวลาบัญชีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบรายงานฯ ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท

หมายเหตุ:
(1) การพิจารณาจำนวนการถือหุ้นนั้นให้พิจารณาจากจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยไม่จำแนกประเภทของหุ้น
(2) การพิจารณาจำนวนการถือหุ้นทางอ้อมนั้น ให้พิจารณาตามสัดส่วนการถือหุ้น

หากไม่ยื่น Disclosure Form จะมีโทษอย่างไร

มาตรา 35 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกำหนด หรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรได้กำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับไว้สำหรับการยื่นรายงานเกินกำหนดเวลา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้

- ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 50,000.00 บาท
- เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 100,000.00 บาท
- เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ปรับ 200,000.00 บาท

ดังนั้น ต้องยื่นให้ทันภายในกำหนดเวลา เพราะถ้าไม่ทันจะมีเบี้ยปรับ

 

จากบทความ : “5 ข้อต้องระวังหลังยื่น ภ.ง.ด.50” Section: Tax Talk / Column: Tax Tips
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่.....วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 41 ฉบับที่ 489 เดือนกรกฎาคม 2565
หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e-Magazine Index

 

FaLang translation system by Faboba