เทคนิคการเขียนแนวปฏิบัติสวัสดิการ สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

รหัสหลักสูตร : 21/3432

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 7,490 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 8,560 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เทคนิคการเขียนแนวปฏิบัติสวัสดิการ สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline

 

• เขียนสวัสดิการอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากการถูกปรับ คิดดอกเบี้ย เงินเพิ่มและรับโทษทางอาญาถึงจำคุก
• ประเด็นปัญหากรณี “สวัสดิการ” กลายเป็น “ค่าจ้าง” จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
• ในการฟ้องร้องคดีแรงงาน และเกี่ยวข้องอย่างไร? จะต้องนำไป คำนวณใช้เป็นฐานในการคำนวณ เงินสมทบต่างๆ
ของกฎหมายแรงงาน (คุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม เงินทดแทน)
• ศาสตร์และศิลป์ขั้นสูงในการถอดสมการและเขียน ลองฝึกเขียนจริง แบบเจาะลึก และแนะนําพยางค์ต่อพยางค์
บรรทัดต่อบรรทัดจากวิทยากร

วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

หัวข้อสัมมนา

1. ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ “สวัสดิการ” ที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ เป็น สภาพการจ้าง หรือ
สิทธิฝ่ายจัดการ และบังคับด้วยกฎหมายอะไร? มาตราใดบัญญัติไว้

2. เทคนิคการเขียนคู่มือ แนวปฏิบัติ สวัสดิการ จะต้องมีเทคนิคอย่างไร? ที่ไม่ให้ถูกกระทรวงแรงงานและ
ศาลตัดสินว่าเป็น “ค่าจ้าง”
รูปแบบการเขียนที่ต้องมี เรื่อง ที่มา ข้อเสนอ (วัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ หลักการ หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข อัตราการจ่าย การระงับหรือยกเลิกการให้/จ่าย) วันที่มีผลใช้บังคับ และข้อสงวนสิทธิ์
เป็นอย่างไร?
การเขียนคู่มือสวัสดิการเป็นเรื่องๆ แยกสวัสดิการแต่ละประเภท ในลักษณะแนวปฏิบัติ มีวิธีการและ
เทคนิคอย่างไร?
องค์ประกอบของการตีความให้สวัสดิการที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็น “เงิน” เป็น “ค่าจ้าง” มีอะไรบ้าง
หากทำสมการควรถอดสมการในองค์ประกอบใดทิ้ง จึงปลอดภัยที่สุด มีข้อแนะนำ นัยซ่อนเร้นอย่างไร
ให้เป็นแนวทางและกุศโลบาย
เคล็ด(ไม่)ลับ ในการเขียนสวัสดิการที่เป็นซึ่งจ่ายอยู่ในปัจจุบัน ให้ “ไม่เป็นค่าจ้าง” ทำอย่างไร?
จำเป็นต้องใช้เทคนิคและกลยุทธ์ขั้นสูงอย่างไร?

3. สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพ ค่ากะ ค่าอาหาร เบี้ยเลี้ยง เบี้ยขยัน เงินประจำ
ตำแหน่ง ค่าน้ำมันรถ ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น เป็นค่าจ้างหรือไม่ เขียนอย่างไร? ไม่ให้เป็นค่าจ้าง

4. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ “สวัสดิการ” ที่มักถูกวินิจฉัยเป็น “ค่าจ้าง” และทำให้ถูกนำไปเป็นฐานเพื่อคำนวณ
หรือต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา และประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่มักผิดพลาดพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อสามารถ
แก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก เปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์เงื่อนไขได้โดยไม่ผูกพันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สวัสดิการ “เงินค่ากะ” ผลกระทบกับประกันสังคมและการตีความ “ค่าจ้าง” ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
และเป็นประเด็นการยื่นข้อเรียกร้องของสภาพแรงงานตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์
สวัสดิการ “โบนัส” กรณีการให้โบนัสแบบตายตัว (Fit) กับโบนัสแบบยืดหยุ่นจะต้องทำอย่างไร?
ไม่กลายเป็น “ค่าจ้าง”
สวัสดิการ “การขึ้นค่าจ้างประจำปี” จะต้องกำหนดให้มีหรือไม่? เป็นสวัสดิการประเภทสิทธิการจัดการ
จะต้องสัมพันธ์กับอะไรบ้าง? ในการพิจารณา
สวัสดิการ “การเลืNอนขั้น เลืNอนตำแหน่ง” จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทนอะไรบ้าง? โดยไม่
ทำให้เป็นค่าจ้างและไม่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพิ่มเติม
หรือยกเลิกได้)
สวัสดิการ “ค่าครองชีพ” นั้นนับเป็น “ค่าจ้าง” แต่จะทำอย่างไร? ให้สวัสดิการค่าครองชีพใช้ประโยชน์
ในการบริหารจัดการอื่นๆ
การนำไปคำนวณเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มขึ้น ในส่วนนายจ้างและลูกจ้าง หากส่งไม่ครบจำนวน จะต้อง
เสียเงินเพิ่มเท่าไหร่? และในส่วนของกองทุนเงินทดแทนจำนวนเท่าไหร่
การนำไปคำนวณค่าล่วงเวลา 3 แบบ คือ ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ 1.5 แรง ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
3 แรง ค่าทำงานในวันหยุด 1 แรง สำหรับลูกจ้างรายเดือน หรือ 2 แรงสำหรับลูกจ้างรายวัน
การนำไปคำนวณ ค่าชดเชยพิเศษ, ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว, ค่าจ้าง 75% หยุดกิจการชั่วคราว,
ค่าจ้างวันลาหยุดงานต่างๆ, ค่าจ้างเดินทางทำงานท้องที่อื่น ฯลฯ
อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างจากการบริหารสวัสดิการไม่เป็น มีอายุความเท่าไหร่? ฯลฯ

5. เทคนิคการจัดการ สวัสดิการที่นายจ้างตั้งใจให้มากกว่ากฎหมาย เปลี่ยนจาก “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ
การจ้าง” เป็น “สิทธิฝ่ายจัดการ” เพื่อให้สามารถแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ในอนาคตได้

6. การเขียน แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล แล้วเก็บไว้ใช้งานภายในองค์กรเองมี
ประโยชน์อย่างไร นำมาใช้เมื่อใด จึงจะชนะคดี

7. การทำให้แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล มีผลย้อนหลังในการบังคับกับลูกจ้าง
ทำได้หรือไม่ อย่างไร?

8. ท่านถาม - อาจารย์ตอบ



นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
4 ถ.สุขุมวิท ซ.2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
02-656 7700
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4 (เดิน 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba