สินทรัพย์และหนี้สินกับความเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

รหัสหลักสูตร : 21/2236

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


สินทรัพย์และหนี้สินกับความเปลี่ยนแปลง
ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
(72 ประเด็นทางบัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน)


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.

 

วิทยากรโดย อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

หัวข้อสัมมนา

1. หลักเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีที่นักบัญชีต้องทราบ

2. หลักเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

3. สินทรัพย์อื่นในความหมายของทางบัญชี หมายถึงอะไรบ้าง

4. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ถูกต้องควรแสดงรายการอย่างไร

5. การบันทึกบัญชีและระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดที่มีประสิทธิภาพ

6. การบริหารเงินสด การควบคุมเงินสดรับ เงินสดจ่าย ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

7. การจัดการและวางระบบเงินสดย่อย เงินทดรองจ่ายและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชี

8. หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาว ประเด็นสำคัญที่นักบัญชีไม่ควรพลาด

9. อะไรบ้างที่เป็นรายจ่ายในการได้มาซึ่งเงินลงทุน ที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญ

10. ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ เงินปันผล ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

11. การแยกแสดงสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบการเงินกิจการต้องจำแนกประเภทเป็นเงินลงทุน
ประเภทใด

12. ลูกหนี้การค้าแสดงในงบแสดงฐานะการเงินอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

13. การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีกี่วิธี และจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง ตามมาตรฐานการบัญชีและสรรพากรยอมรับ

14. การบันทึกบัญชีลูกหนี้จากการขายสินค้าและบริการนักบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับ
มาตรฐานการบัญชี

15. ลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้จะมีวิธีการบันทึกบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องทั้งทางบัญชีและภาษี

16. หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเด็นสำคัญอีกจุดที่นักบัญชีต้องแม่นยำ

17. สินค้าคงเหลือและต้นทุนขายที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานการบัญชีนั้น นักบัญชีจะต้องแสดงรายการดังกล่าวอย่างไร
ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

18. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่นักบัญชีต้องแม่นยำ

19. การคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือและการคำนวณหาต้นทุนขายทำอย่างไรให้ถูกต้อง

20. อะไรบ้างที่ควรนับรวมเป็นสินค้าคงเหลือของกิจการและอะไรบ้างที่นับรวมไม่ได้

21. วิธีปฏิบัติการบันทึกบัญชี เมื่อพบปัญหาเกี่ยวข้องกับสินค้าขาด หรือเกินจากสต๊อก ทางแก้ไขที่ถูกต้องและดีที่สุด

22. การตีราคาสินค้าคงเหลือระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV) นักบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร

23. การประมาณการเกี่ยวกับมูลค่าของสินค้าคงเหลือควรปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

24. ข้อปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากรเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญ
คืออะไร

25. การกำหนดต้นทุนมาตรฐานอย่างไรที่สรรพากรยอมรับและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

26. ปัญหาด้านบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีซื้อ และใบกำกับภาษีกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินที่นักบัญชี
ไม่ควรมองข้าม

27. ปัญหาด้านการจ่ายค่าใช้จ่ายของพนักงานขายและการส่งสินค้าตัวอย่าง นักบัญชีจะลงบันทึกบัญชีที่สอดคล้องตาม
มาตรฐานการบัญชีและการบัญชีภาษีอากร

28. ปัญหาด้านการบันทึกรายการบัญชีจากการรับมอบของแถม แจกสินค้า ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

29. การบันทึกที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

30. หลักเกณฑ์การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์อีกประเด็นใหญ่ที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

31. การเปลี่ยนสินทรัพย์จะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี

32. การเปลี่ยนแปลงมูลค่า การต่อเติม ปรับปรุงทำให้อยู่ในสภาพดีขึ้น ซ่อมแซม บำรุงรักษา จะบันทึกบัญชีอย่างไร

33. เช่าซื้อผ่อนชำระ สัญญาเช่าการเงิน และสัญญาเช่าดำเนินงานมีวิธีการบันทึกบัญชีอย่างไร

34. เทคนิคการตรวจสอบข้อแตกต่างลักษณะของสินค้าและลักษณะของสินทรัพย์ถาวร ที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญ

35. การบันทึกงานระหว่างก่อสร้าง และเอกสารสำคัญที่นักบัญชีต้องใช้ประกอบการทางบัญชีมีอะไรบ้าง

36. การคิดค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคาและปัญหาการคำนวณอัตราและวิธีการทางบัญชีและภาษีอากร นักบัญชีต้องปฏิบัติ
อย่างไรให้ถูกต้องทั้งในส่วนของมาตรฐานการบัญชีและสรรพากรยอมรับ

37. ประเด็นด้านการประมาณและการเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานในการคิดค่าเสื่อมราคา

38. ประเด็นด้านการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานของทรัพย์สิน

39. หลักเกณฑ์การคิดค่าสึกหรือค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรต้องคิดอย่างไรให้บริษัทได้ประโยชน์สูงสุด

40. การหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ จะต้องหักอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
และเป็นประโยชน์ในทางภาษี

41. ประเด็นรายจ่ายเพื่อการพัฒนาของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

42. การตัดรายการสินทรัพย์ที่สูญหายนักบัญชีต้องดำเนินการอย่างไรให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี

43. มูลค่าคงเหลือสินทรัพย์ถาวรมีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างไรที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานการบัญชี

44. สินทรัพย์ถาวรที่ได้มาโดยที่ไม่ปรากฏต้นทุนนั้นนักบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไร

45. การขายสินทรัพย์และการคำนวณกำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์มีปัญหาอะไรบ้าง และปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

46. ประเด็นปัญหาการจ่ายภาษีเงินได้กลางปี ทางบัญชีจะบันทึกบัญชีเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย

47. ประเด็นปัญหาภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ขอคืนไม่ได้ทำอย่างไร นักบัญชีจะบันทึกบัญชีอย่างไรจึงจะถูกต้อง

48. หลักเกณฑ์การประมาณการหนี้สินทางบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไรและการประมาณหนี้สินผลประโยชน์พนักงานให้
ถูกต้องตามาตรฐานการบัญชี

49. เจ้าหนี้การค้าคงค้างนานๆ จะแสดงอย่างไรในงบแสดงฐานะการเงิน จึงจะถูกต้อง

50. การคำนวณ ภาระหนี้สิน จากหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระในหนึ่งปี กรณีที่มีหนี้เกินกำหนดหนึ่งปีแสดงในงบ
แสดงฐานะการเงินอย่างไร

51. ปัญหาการจัดทำงบการเงินแยกแผนก ตามมาตรฐานการบัญชีและการปันส่วนชำระ ภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายตาม
มาตรฐานการบัญชี

52. การเปิดเผยรายการสินทรัพย์และหนี้สิน ตามมาตรฐานการบัญชี

53. การนำเสนอรายการหนี้สินที่จะเกิดในอนาคต มีแนวทางนำเสนออย่างไร

54. วิธีการประมาณการผลประโยชน์พนักงานที่เหมาะสมและสอดคล้องตามมาตรฐานการบัญชี

55. หากไม่ต้องการประมาณหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจะทำได้หรือไม่อย่างไร

56. การแสดงรายการหนี้สินระยะยาวนักบัญชีต้องคำนึงถึงเรื่องใดเป็นพิเศษ

57. การจ่ายเงินปันผล และปัญหาจากการจ่ายเงินปันผลทางบัญชีและภาษีอากรการบันทึกเงินปันผลค้างจ่าย

58. ปัญหาการหามูลค่าของทรัพย์สินที่ได้จากการบริจาคที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญ

59. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบแสดงฐานะการเงินคืออะไรมีผลต่อสินทรัพย์และหนี้สินอย่างไร

60. ภาระหนี้สินจากภาษีอากรสำหรับการผ่อนชำระสินทรัพย์และหนี้สิน ลงบันทึกบัญชีอย่างไร

61. การบันทึกหนี้สินที่ต้องแปลงค่าเป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยและปัญหาในทางปฏิบัติระหว่างมาตรฐาน
การบัญชีกับภาษีอากรที่นักบัญชีพบเจอมากที่สุด

62. การบันทึกเงินชดเชยที่ได้รับจากการส่งออก บันทึกเมื่อไรและทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

63. ภาระหนี้สินจากการเช่าระยะยาว และการขายและเช่ากลับคืนคืออะไร และจะบันทึกบัญชีอย่างไร

64. นักบัญชีกับปัญหาภาษีอากรจากการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ลงบันทึกเมื่อไร ให้ถูกต้อง

65. การแก้ไขรายการข้อผิดพลาดทำเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินอย่างไร และจะปรับปรุงทางบัญชีภาษีอากรอย่างไร

66. หลักเกณฑ์การปฏิบัติเมื่อมีการลดหนี้ ในกรณีต่างๆ เช่น การยกหนี้สินปกติ การประนอมหนี้สิน นักบัญชีต้อง
ปฏิบัติอย่างไร

67. ซื้อสินทรัพย์ให้เช่ารายปี จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไรและต้องลงรายการทางบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตาม
มาตรฐานการบัญชี

68. สินทรัพย์อื่นที่กิจการจำเป็นต้องปฏิบัติ เช่นค่าใช้จ่ายล่วงหน้ารายได้ค้างรับ นักบัญชีจะมีวิธีการที่ปฏิบัติที่ถูกต้อง
อย่างไร

69. ปัญหาของค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และรายได้รับล่วงหน้าจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

70. ปัญหาการจำหน่ายสินทรัพย์บางรายการที่ยังไม่ได้รับเงินทางบัญชีจะต้องลงบันทึกบัญชีอย่างไร

71. ปัญหาเกี่ยวกับนายหน้าจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ทางบัญชีจะปฏิบัติอย่างไร

72. ต้นทุนการกู้ยืมนักบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไรเมื่อมีการกู้ยืมมาสร้างสินทรัพย์

73. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba