Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา & Workshop การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91

รหัสหลักสูตร : 21/1291

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 Workshop
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

 

พิเศษ!! เข้าอบรม 2 ท่าน ลดทันที 500 บาท
(หลักสูตรเดียวกัน/ ใบเสร็จรับเงินฉบับเดียวกัน/ ไม่ร่วมโปรโมชั่นอื่น)


• รู้ทัน ช่องทางการตรวจสอบภาษีของสรรพากรว่าเสียภาษีครบหรือไม่ จากธุรกรรมทางการเงิน รับโอน-ฝากเงิน,
ดอกเบี้ยเงินฝาก
• ยกเลิก LTF!! จะจัดการอย่างไร? กระทบสิทธิลดหย่อนขนาดไหน? และการลงทุนใหม่กับ “SEF” ที่ไม่ควรพลาด
ในปี 2563
• ผลกระทบของผู้เสียภาษีจากการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม
• เช็คให้ชัวร์ก่อนยื่น! เอกสารหลักฐานลดหย่อนภาษี สินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา, สินค้า OTOP, หนังสือ,
ท่องเที่ยว
• การจัดเตรียมเอกสารและแนวทางการชี้แจงเมื่อสรรพากรเรียกตรวจสอบจากการยื่นแบบทาง Internet
• Update! ค่าลดหย่อนทางภาษีของบุคคลธรรมดา, ค่าใช้จ่ายอัตราภาษีปี 2563
• การยื่นแบบให้พนักงานต่างชาติใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร

 

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

1. Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563

2. การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563
• มนุษย์เงินเดือนมีเงินได้เท่าไหรที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- สมรส
- โสด
• กรณีมีรายได้ขั้นต่ำต่อปีที่สรรพากรกำหนด (60,000 120,000 และ 220,000) ต่างกันอย่างไรและ
ต้องมีรายได้เท่าไหรที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• อัตราเสียภาษี 7 ขั้นที่มนุษย์เงินเดือนต้องเสียภาษี
• การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับคนต่างด้าวที่พิการ

3. หลักเกณฑ์ทางภาษีที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ผู้เสียภาษีต้องทราบ
• อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• กรณีแยกยื่นของสามี-ภรรยา ยื่นอย่างไรให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
• มนุษย์เงินเดือน ต้องมีรายได้เท่าไหร่จึงจะต้องยื่นแบบเสียภาษี
• ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วจะขอคืนภาษีได้อย่างไร

4. ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(1)-(8) เปรียบเทียบเงินได้ที่มักเข้าใจผิด
• ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(7)งานรับเหมา กับ 40(8) งานรับจ้าง
• ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(2) (6)และ (8)
• เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) แตกต่างกันอย่างไร
• เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์รวมทั้งประโยชน์เพิ่มอื่นๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทใด
• หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางพนักงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีกรณีการเดินทางในประเทศ
และต่างประเทศ

5.ประเด็นปัญหาทางภาษีกรณีลูกจ้างเป็นคนต่างชาติ และหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อน
• การเสียภาษีของคนต่างชาติที่ได้รับเงินได้จากประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ ถ้าไม่ได้
เดินทางเข้ามาในไทย หรือมาอยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน
• กรณีคนต่างชาติทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้จากต่างประเทศต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่
• การหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ของสามีภรรยา หรือบุตรของคนต่างชาติ

6.เจาะประเด็นวิธีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 8 ประเภท เงินได้แบบไหน มีวิธีหักอย่างไรให้ได้
ประโยชน์สูงสุดทางภาษี


7. 45 ประเด็นปัญหาค่าลดหย่อน พร้อม Update ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ควรพลาด
7.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว
• กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล สามารถลดหย่อนส่วนตัว ได้ทุกคนหรือไม่
7.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส
• สมรสระหว่างปีสามารถนำคู่สมรสมาหักลดหย่อนในปีภาษีนั้นได้หรือไม่
• คู่สมรสมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและไม่ได้แยกยื่นแบบแสดงรายการสามารถใช้สิทธิลดหย่อน
คู่สมรสได้หรือไม่
• กรณีที่สามีและภรรยามีรายได้ทั้ง 2 ฝ่าย และยื่นรวมจะหักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่
7.3 ค่าลดหย่อนบุตร ค่าฝากครรภ์ค่าคลอดบุตร
• หลักฐานที่ต้องใช้เป็นหลักฐานเพื่อหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรมีอะไรบ้าง
• กรณีได้รับเงินช่วยค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม 13,000 บาทสามารถใช้สิทธิหัก ค่าลดหย่อนได้เต็ม
60,000 บาทหรือไม่
• กรณีที่ตั้งครรภ์สิ้นปี 61 และกำหนดคลอดปี 62 จะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
• กรณีที่ตั้งครรภ์หัวปีท้ายปีจะใช้สิทธิได้ 60,000 บาทหรือ 120,000 บาท
• กรณีลูกแฝดจะใช้สิทธิค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดได้ 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท
• ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่แท้ง จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
• กรณีอุ้มบุญใครมีสิทธิใช้ค่าลดหย่อน
• หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักลดหย่อนบุตร และจำนวนเงินที่มีสิทธิหักลดหย่อนบุตร
• กรณีมีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่
• บุตรที่จบการศึกษาระหว่างปีและยังไม่ได้มีงานทำ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่
• บุตรของภรรยาหรือสามี (ลูกติดสามี/ภรรยา) สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่
7.4 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา
• บุตรบุญธรรมสามารถนำบิดามารดาที่รับอุปการะเลี้ยงดูมาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่
• กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีหรือก่อนการยื่นแบบใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่
• กรณีนำบิดามารดาไปลดหย่อนซ้ำกับพี่น้อง
• กรณีมารดาไม่มีเงินได้บิดาใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนคู่สมรสไปแล้ว บุตรใช้สิทธิหักลดหย่อนอุปการะเลี้ยง
ดูมารดาได้อีกหรือไม่
• กรณีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว สามารถนำมาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้หรือไม่
7.5 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ
• หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ
• เอกสารหลักฐานที่ต้องแนบตอนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• กรณีผู้ดูแลคนพิการมีหลายคนที่มีชื่อในบัตรประจำตัวคนพิการ แต่ละคนสามารถนำไปหักค่าอุปาการะ
เลี้ยงดูคนพิการได้อย่างไรบ้าง
• กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการระหว่างปีนำสิทธิหักลดหย่อนมาใช้อย่างไร
• กรณีภรรยาไม่มีเงินได้แต่มีชื่อเป็นคนดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ สามีสามารถใช้สิทธิ
ลดหย่อนได้หรือไม่
7.6 ลดหย่อนประกันสังคม
• หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนประกันสังคม
• กรณีสามีหรือภรรยาไม่มีเงินได้แต่เป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม สามารถนำเงินสมทบกองทุน
ประกันสังคมที่ชำระมารวมหักลดหย่อนภาษีเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ตนชำระด้วยได้หรือไม่
7.7 ค่าลดหย่อนประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ
• กรณีที่บริษัทซื้อประกันชีวิตให้พนักงานโดยเป็นไปตามระเบียบบริษัท พนักงานสามารถนำเบี้ยประกันชีวิต
มาลดหย่อนได้หรือไม่
• กรณีซื้อประกันชีวิตให้บิดามารดาของคู่สมรส สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
• กรณีที่กรมธรรม์นั้นมีผู้จ่ายเบี้ยประกันหลายคน จะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
• หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
• กรณีที่ซื้อประกันชีวิตที่มีการคุ้มครองเกิน 10 ปีแต่ได้รับเงินคืนเกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตจะถือว่าผิด
เงื่อนไขหรือไม่ นำมาลดหย่อนได้หรือไม่
• กรณีที่มีการนำเบี้ยประกันที่จ่ายไปมาลดหย่อน แต่มาทราบภายหลังว่าผิดเงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนด
มีแนวทางแก้ไขอย่างไร
7.8 ค่าลดหย่อนซื้อหน่วยลงทุน RMF, LTF และทำความรู้จักกับ SEF
• เงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุน RMF, LTF, SSF และการใช้สิทธิลดหย่อน
• กรณีที่มีการลงทุนซื้อ RMF และมีการระงับการซื้อติดต่อกันเกิน 1 ปีจะมีผลอย่างไรหรือไม่กับ
การใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
• กรณีซื้อ LTF เกิน 15% ของรายได้สามารถทำได้หรือไม่ และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
• กำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน หากเกิน 15% ของเงินได้ต้องนำกำไรที่ได้นั้นไปคำนวนเสีย
ภาษีเงินได้บุคลธรรมดาหรือไม่
• เงินปันผลที่ได้จากกองทุน/กำไรจากการขายกองทุนต้องเสียภาษีอย่างไร
• กรณีขายก่อนครบกำหนด จะถูกตรวจสอบหรือไม่ สรรพากรจะทราบได้อย่างไร
• โอกาสสุดท้าย!! ใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุน LTF และทางเลือกใหม่ที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนเสียสิทธิ
7.9 ค่าลดหย่อนบ้านหลังแรก
• ระยะเวลาในการใช้สิทธินับจากวันทำสัญญาหรือวันโอน
7.10 ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย
• กรณีสามีภรรยายื่นกู้ร่วมซื้อบ้าน ภรรยาไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็ม
จำนวนหรือไม่
7.11 ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
• บริจาคให้กับวัด
• บริจาคให้กับสถานศึกษา, กีฬา
• บริจาคให้กับโรงพยาบาล
7.12 ค่าลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว 55 จังหวัด
• กรณีที่มีการจ่ายเงินค่าท่องเที่ยวให้กับบริษัททัวร์ที่พาเที่ย;โดยแพ็คเก็จมีการนำเที่ยวเมืองหลักและต่อด้วย
เมืองรอง สามารถนำมาลดหย่อนได้หรือไม่
7.13 ค่าลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรองกรณีจองผ่านผู้ให้บริการ เช่น
agoda, booking, traveloka
7.14 ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา กรณีซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ / ซื้อที่ Outlet
7.15 ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP ประเด็นบิลเงินสดที่ร้านค้าในชุมชนออกให้
7.16 ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือ หนังสือประเภทใดบ้างที่ลดหย่อนได้ กรณีหนังสือ / e-Book ต่างประเทศ
จะนำมาลดหย่อนได้หรือไม่

8. เช็คให้ชัวร์ก่อนยื่น! เอกสารหลักฐานลดหย่อนภาษี
• จุดต้องระวังในการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
•  เอกสารรายการไม่ครบถ้วนจะใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
• ใบกำกับภาษีมีสินค้ารายการอื่นรวมอยู่ด้วยต้องทำอย่างไร จะนำมาใช้ได้หรือไม่
• รายการที่ต้องเช็ค! ก่อนใช้บิลเงินสดเป็นเอกสารหลักฐาน

9. ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่มีใบกำกับภาษีจะใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่  ใช้อะไรเป็น
เอกสารหลักฐาน

10.การตรวจสอบภาษีจากข้อมูลการรับ-โอนเงินและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

• หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการส่งข้อมูลรับโอน-ฝากเงิน นับอย่างไร? รวมทุกบัญชี-รายบัญชี? และกรณี
ใดไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร
• จะทำอย่างไรหากไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากให้สรรพากร

11.การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบInternet กรณีสรรพากร
เรียกตรวจสอบจะต้องเตรียมเอกสารอย่างไรมีแนวทางการชี้แจงอย่างไร

12.กรณีที่คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรมดาแล้วไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบ
แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ หากไม่ยื่นจะมีผลอย่างไร

13.คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ เพลินจิต
566 ถ.เพลินจิต แขวง ลุมพินี เขต ปทุมวัน กทม.
โทรศัพท์ :
02 2305 6000
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba