• เพื่อให้นักบัญชีได้เข้าใจถึงประเด็นทางบัญชีที่สำคัญในการจัดทำงบการเงิน • เพื่อให้นักบัญชีทราบถึงความแตกต่างของรายการทางบัญชี กับหลักภาษีอากร • เพื่อให้นักบัญชีปรับปรุงรายการได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการกระทบยอดรายการสำคัญในงบการเงิน
วิทยากรโดย อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล
หัวข้อสัมมนา
Section 1: เคลียร์ประเด็นปัญหาพร้อมแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพื่อปิดบัญชี 1. มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
2. การตรวจสอบเอกสารในการจัดทำบัญชี และเอกสารที่ถูกต้อง - ความสำคัญของเอกสารหลักฐาน - เอกสารตาม พรบ.การบัญชี ที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี
3. การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามมาตรฐานการบัญชี - หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ - การจัดประเภทรายการค่าใช้จ่าย
4. การปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีลูกหนี้ - การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - วิธีการตัดจำหน่ายหนี้สูญ
5. การปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีสินค้าคงเหลือ - การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด - การปรับปรุงรายการสินค้าคงเหลือด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ - การประมาณการค่าด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ สินค้าเสื่อมสภาพ ล้าสมัย - การปรับปรุงรายการสินค้าคงเหลือชำรุด เสียหาย และสูญหาย - การปรับปรุงผลต่างจากการตรวจนับสินค้าคงเหลือ สินค้า(ขาด)เกินจากรายงาน - การรับรู้รายการสินค้าคงเหลือเป็นค่าใช้จ่าย
6. การปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ต้นทุนเริ่มแรกของการได้มาสินทรัพย์ - ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังและการรับรู้รายการ การต่อเติม ซ่อมแซม บำรุงรักษา และการเปลี่ยนแทน - การเลือกใช้วิธีราคาทุน และวิธีการตีราคาใหม่ ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - การวัดมูลค่ายุติธรรมของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - การทบทวนมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ และการประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ - การเปลี่ยนแปลงประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ - การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ และการรับรู้รายได้จากการจำหน่ายสินทรัพย์
7. การปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน - การพิจารณาสัญญาเช่าที่เข้าหลักเกณฑ์สัญญาเช่าทางการเงิน - การรับรู้รายการสินทรัพย์และหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน
8. หลักเกณฑ์ทางบัญชีและแนวปฏิบัติทางภาษีที่มีความแตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงรายการ - ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ เช่น การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ และการตัดจำหน่ายหนี้สูญ - ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ เช่น การวัดมูลค่า การขายต่ำกว่าราคาตลาด สินค้าขาด-เกิน สินค้าชำรุดเสียหาย สูญหาย การทำลายสินค้า และการส่งเสริมการขาย - ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ถาวร เช่น การคำนวณค่าเสื่อมราคา การตัดจำหน่ายทรัพย์สิน การพิจารณารายจ่ายฝ่ายทุน - ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน เช่น สัญญาเช่าซื้อ สัญญาลิสซิ่ง
9 . การปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีเพื่อเสียภาษี - รายได้ทางภาษี - รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี - รายได้ที่ได้รับยกเว้น - รายจ่ายที่สามารถหักเพิ่มได้ - การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล - การตรวจสอบการประมาณการกำไรครึ่งปี - สัญญาณเตือนภัยในงบการเงินที่อาจจะเป็นประเด็นในการถูกตรวจสอบ
10. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
Section 2 การจัดประเภทรายการทางบัญชี เพื่อปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงินแบบมืออาชีพ Work Shop 1. การตรวจรายการเพื่อกระทบยอดรายการบัญชีที่สำคัญ (Reconcile) - งบทดลองก่อนการปิดบัญชี - เงินสดคงเหลือในมือ - เงินสดและเงินฝากธนาคาร - บัญชีลูกหนี้ - สินค้าคงเหลือ - สินทรัพย์ถาวร - บัญชีเจ้าหนี้ - บัญชีสินทรัพย์ และ หนี้สิน - ภาษีซื้อ และภาษีซื้อไม่ถึงกำหนด - ภาษีขาย และภาษีขายรอเรียกเก็บ - รายได้/ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ เช่น ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร
2. การจัดทำงบการเงินตามรูปแบบของ e-Filling - องค์ประกอบของงบการเงินที่ต้องนำเสนอ - รูปแบบรายการย่อของงบการเงินที่ต้องนำเสนอ - คำอธิบายของรายการย่อของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้ และ ค่าใช้จ่าย - การ Grouping รายการผังบัญชีในงบทดลอง ตามรูปแบบรายการย่อที่ต้องนำเสนอในงบการเงิน - การจัดประเภทของรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อเปิดเผยรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
3. Workshop การ Grouping งบการเงินตามรูปแบบรายการย่อ และการจัดทำงบการเงิน
4. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
|