เนื้อหาหลักสูตร • เนื้อหาทั้งหมด 10 บทเรียน • ความยาว 8 ชั่วโมง 20 นาที
หลักเกณฑ์ในการเรียน • ระยะเวลา เรียนจบภายใน 60 วัน • ข้อสอบมีทั้งหมด 35 ข้อ • ได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่า 60% (21 ข้อขึ้นไป) ถือว่าผ่าน • สามารถมีสิทธิสอบ 2 ครั้ง(กรณีไม่ผ่านในครั้งแรก) • เรียนจบสามารถรับหนังสือรับรองได้ทันที
หมายเหตุ • สามารถเรียนได้ทั้ง PC, Notebook, Smartphone, Tablet • มีเอกสารประกอบการเรียนให้ดาวน์โหลด • นับชั่วโมง ผู้ทำบัญชี ,ผู้สอบบัญชี • ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาวิชาชีพบัญชี
วิทยากรโดย อาจารย์เกชา สมใจเพ็ง
หัวข้อสัมมนา
บทที่ 1 สิ่งที่นักบัญชีควรทราบและต้องระมัดระวัง - การจัดทำบัญชีตามกฎหมายบัญชีและประมวลรัษฎากร - ปัญหาการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ - การใช้เกณฑ์สิทธิและเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิ - รอบระยะเวลาบัญชีในการคำนวณกำไรสุทธิ - ภาษีอากรที่มีผลกระทบต่อการคำนวณกำไรสุทธิ
บทที่ 2 หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ต้องระมัดระวังในการคำนวณกำไรสุทธิ 2.1 รายได้และการรับรู้รายได้ - รายได้ที่ต้องเสียภาษีและรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี - รายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้แต่ทางภาษีถือเป็นรายได้ - รายได้ที่ทางภาษีไม่ถือเป็นรายได้แต่ทางบัญชีถือเป็นรายได้ - รายได้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 2.2 รายจ่าย - รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือก่อให้เกิดรายได้ - รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร - ผลขาดทุนยกมาไม่เกิน 5 ปี - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินยืมกรรมการ เงินยืมพนักงานและเงินยืมบริษัทในเครือ - รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ - รายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา - รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ
บทที่ 3 หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สินทรัพย์และประเภทของสินทรัพย์ - ความหมายและการรับรู้ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ - การเลิกใช้และการจำหน่ายสินทรัพย์ - การหักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ - ปัญหาการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน - รายจ่ายที่มีลักษณะลงทุน - ทรัพย์สินสูญหายใช้การไม่ได้จะต้องปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
บทที่ 4 หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ - ความหมายและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ - ราคาทุนและมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ - การตีราคาสินค้าคงเหลือและปัญหาในการตีราคา - ต้นทุนของสินค้าคงเหลือและการคำนวณต้นทุน - การบันทึกสินค้าคงเหลือเป็นค่าใช้จ่าย - กรณีสินค้าขาดหรือเกินจากสต็อกจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ - หลักเกณฑ์การทำลายสินค้าและวัตถุดิบตามประมวลรัษฎากร
บทที่ 5 หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ - ความหมายและความสำคัญของหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - ประเภทของลูกหนี้ที่จะตัดจำหน่ายหนี้สงสัยจะสูญ - วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ - การตัดจำหน่ายหนี้สูญและการบันทึกบัญชี - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเกินความต้องการ - หนี้สูญได้รับคืนและปัญหาการบันทึกบัญชี - การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้
บทที่ 6 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี (ภ.ง.ด 51)
บทที่ 7 การปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ)
บทที่ 8 การกรอกแบบ ภ.ง.ด 50
บทที่ 9 ข้อควรระวังมัดระวังในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
บทที่ 10 คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
|