- ด่วน!! หลักเกณฑ์ใหม่ นายจ้างต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ
ผ่านระบบ e-filing และ ระบบ e-withholding tax (เต็มรูปแบบ 1 ม.ค. 67)
- Update วิธีการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบ e-filing
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีจ่ายให้บุคคลธรรมดา/ นิติบุคคลในไทยและต่างประเทศ
- ลงรายจ่าย 2 เท่า จากการลงทุนและจ่ายค่าบริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถึง 31 ธ.ค. 68
- การหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบกระดาษ และ แบบ e-Withholding Tax มีวิธีการนำส่งภาษีอย่างไร
- ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย!! สำหรับการจ่ายเงินได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 66
เหลือ 1% หักเกิน หักขาด ต้องรับผิดหรือไม่? อย่างไร?
วิทยากรโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายภาษีอากร
หัวข้อสัมมนา
1. กฎหมายใหม่การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสือด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงอะไรบ้าง 2. การหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ระบบ (แบบกระดาษ และ แบบ e-Withholding Tax) - ความแตกต่าง ข้อดี-ข้อเสีย - สามารถใช้ 2 ระบบในบริษัทเดียวได้หรือไม่ - มีวิธีการทำงานและนำส่งภาษีอย่างไร 3. สารพันปัญหาการหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องระวัง!!! จากการจ่ายเงินได้แต่ละประเภท ตามมาตรา 40 - รับจ้างทำงานให้ - ค่าขนส่ง - ค่าสิทธิ - ค่าดอกเบี้ย - เงินปันผล หรือ ส่วนแบ่งกำไร - ค่าเช่าทรัพย์สิน - วิชาชีพอิสระ - รับเหมาก่อสร้าง - เงินได้ที่นอกเหนือจากมาตรา 40(1)-(7) 4. ออกใบเสร็จรับเงิน บิลเงินสด ใบกำกับภาษีอย่างไรไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย - ขายพร้อมติดตั้ง - ขายพร้อมขนส่ง - แถมพร้อมขาย - ขายคอมพิวเตอร์ พร้อมซอฟต์แวร์ - ขายพร้อมบริการ - ขายแบบให้ส่วนลด 5. สามารถใช้ 2 ระบบในบริษัทเดียวได้หรือไม่ (แบบกระดาษ/ e-Withholding Tax) - กรณีมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบกระดาษ และ แบบ e-Withholding Tax มีวิธีการทำงานและนำส่งภาษีอย่างไร 6. ทำความเข้าใจระบบ e-Withholding Tax (มุมผู้จ่ายเงิน มุมผู้ถูกหักภาษี) - สะดวกต่อการใช้งานจริงหรือไม่ - ง่ายต่อการนำส่งจริงหรือไม่ - มีข้อดีอย่างไรต่อผู้จ่าย และผู้รับ 7. e-Withholding Tax เป็นหน้าที่ของใคร ใครมีหน้าที่ต้องจัดทำ และนำส่ง 8. จะเข้าสู่ระบบ e-Withholding Tax ต้องเตรียมตัวอย่างไร - ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง - ในส่วนของผู้รับเงินต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง 9. การลงทุนในระบบ e-Withholding Tax กับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 10. อัตราการหัก ณ ที่จ่ายเมื่อเข้าสู่ระบบ e-Withholding Tax - อัตรา 3% ไป 2% ทุกกรณีหรือไม่ - ธุรกรรมที่ต้องหัก 2% มีอะไรบ้าง 11. การทำธุรกรรมผ่านระบบ e-Withholding Tax ทั้งผู้จ่ายเงิน และผู้รับเงินจำเป็นต้องอยู่ในระบบหรือไม่ 12. กรณีผู้รับเงินไม่ได้เข้าสู่ระบบ e-Withholding Tax จะสามารถเข้าระบบผ่านการยื่นแบบผ่าน Internet (e-Filing) เพื่อดูข้อมูลการถูกหัก ณ ที่จ่ายได้หรือไม่ 13. จ่ายเงินผ่านระบบ e-Withholding Tax คิดอัตราหัก ณ ที่จ่ายผิดต้องทำอย่างไร - ใครจะเป็นผู้แก้ไขและออกหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายฉบับใหม่ 14. ผู้รับเงินจะทราบได้อย่างไรว่าถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว และถูกหักผ่านระบบ e-Withholding Tax - ผู้รับเงินจำเป็นต้องขอหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (e-Withholding Tax) จากผู้จ่ายเพื่อปริ้น เป็นเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานหรือไม่ 15. จ่ายเงินผ่านระบบ e-Withholding Tax ทำธุรกรรมเสร็จสามารถเรียกดูข้อมูลได้เลยหรือไม่ 16. จุดที่ต้องระวังในการนำส่งผ่านระบบ e-Withholding Tax 17. นำส่ง e-Withholding Tax มากกว่า 1 ธนาคารได้หรือไม่ 18. กรณีค้นหาข้อมูลไม่พบ หรือตรวจสอบแล้วไม่เจอ ต้องทำอย่างไร 19. การตรวจสอบการนำส่งเงิน และการถูกหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax - การแก้ไขเมื่อตรวจพบว่าหัก ณ ที่จ่ายผิดพลาด - ผู้รับไม่ได้อยู่ในระบบจะตรวจสอบได้อย่างไร 20. กรณีจ่ายซ้ำ หักซ้ำต้องทำอย่างไร 21. การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายผิด, การยื่นขาดจะมีปัญหาตามมาภายหลังหรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร 22. การยื่นภาษีเพิ่มเติมผ่านระบบ e-Withholding Tax ต้องทำอย่างไร 23. เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการจ่ายเงินผิดรายการ และมีการชำระเงินกับธนาคารแล้ว มาทราบภายหลังต้องทำอย่างไร 24. กรณีเกิดข้อผิดพลาดจากธนาคารในการหัก และนำส่งภาษี ใครต้องรับผิดชอบ 25.ลูกค้าหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แต่ธนาคารไม่นำส่งกรมสรรพากร ใครต้องรับผิด 26. e-Withholding Tax กับการเชื่อมโยง e-tax Invoice & e-Receipt การเชื่อมโยงภาษีมูลค่าเพิ่มกับระบบ e-Withholding Tax เมื่อมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ (ภ.พ.30, ภ.ง.ด. 54) - นโยบายการแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยน ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36
|