- Update! 7 มาตรการภาษีและการเงิน กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ปี 2567 - จุดที่ ต้องระวังที่ สรรพากรประเมิน - การวางแผนภาษีและวิธีการคํานวณกําไรสุทธิเพื่ อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ปัญหารายจ่ายที่ เกี่ ยวข้องกับธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ ประเด็นที่ มักถูกตรวจสอบ - ภาระภาษีจากการส่งเสริมการขาย ลด แลก แถม ในการขายบ้าน อาคารชุด อสังหาริมทรัพย
วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย
หัวข้อสัมมนา
1.การใช้เกณฑ์การรับรู้รายได้เพื่อการวางแผนภาษีการขาย บ้าน อาคารชุด อสังหาริมทรัพย์ เมื่อไรจึงจะถือเป็นรายได้ • การรับรู้รายได้ทั้งจำนวน • รับรู้รายได้ตามส่วนงานที่ทำเสร็จ • รับรู้รายได้ตามเงินค่างวดงานที่ถึงกำหนดชำระ • รับรู้เมื่อมีการจดทะเบียนโอนที่กรมที่ดิน • กรณีต้องเปลี่ยนการรับรู้รายได้ทำได้หรือไม่
2.วางแผนการรับรู้รายได้เพื่อประหยัดภาษี • บุคคลธรรมดา • นิติบุคคล
3. สรรพากรถือราคาใดเป็นรายได้ ระหว่างราคาตามสัญญาซื้อขาย, ราคาที่ชำระ ณ วันที่จดทะเบียนโอน,ราคาประเมิน
4. ปัญหาเกี่ยวกับ เงินจอง เงินมัดจำ เงินค่าทำสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องรับรู้เป็นรายได้หรือไม่ • จองแล้วไม่ซื้อ • ผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาเนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อตกลง • เลิกสัญญาจะซื้อจะขายและริบเงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่าปรับหรือไม่ • เงินดาวน์ที่ได้รับเมื่อทำสัญญาแต่ไม่นำไปรวมเป็นราคาโอนจะมีผลกระทบทางภาษีอย่างไร สรรพากรจะทราบได้อย่างไร • ราคาขายตามสัญญากับราคาที่จดทะเบียนโอนที่กรมที่ดินไม่เท่ากันจะถูกประเมินภาษีหรือไม่ • เงินส่วนที่เหลือที่ชำระในวันโอน • ผู้ซื้อจะใช้ราคาใดในการใช้สิทธิทางภาษี
5. ปัญหารายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ ประเด็นที่มักถูกตรวจสอบ • รายจ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มโครงการ เช่น ค่าที่ปรึกษา, ค่าวิเคราะห์โครงการ, ค่าสำรวจตรวจสอบ • รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน • รายจ่ายในการก่อสร้าง/ ค่าถมที่ดิน • ดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไรเป็นต้นทุน อย่างไรเป็นค่าใช้จ่าย • รายจ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์, ส่วนกลาง, สวนสาธารณะ • ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร • การใช้ใบกำกับภาษี, เอกสารรายจ่าย ประเด็นที่ต้องระวัง
6. การคำนวณกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • อย่างไรสรรพากรถือเป็นรายได้ และอย่างไรไม่ถือเป็นรายได้ • ปัญหารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงแต่สรรพากรไม่ถือเป็นรายจ่าย
7. ปัญหาการคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน • อาคารและสาธารณูปโภคส่วนกลางคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอได้หรือไม่ • อะไรบ้างที่สามารถนำมาคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอได้อย่างไรจึงจะถือว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้
8. ปัญหาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเฉลี่ยภาษีซื้อ
9. ภาระภาษีจากการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม ในการขาย บ้าน อาคารชุด อสังหาริมทรัพย์ • แถมเฟอร์นิเจอร์, แอร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า,ตกแต่งภายใน, รถยนต์, ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ • ของแถมต้องเสียภาษีขายหรือไม่ จะวางแผนในการประหยัดภาษีอย่างไร • ทำ PROMOTION อย่างไรไม่ถูกสรรพากรประเมิน • กรณีขาย บ้าน อาคารชุด อสังหาริมทรัพย์ พร้อมเฟอร์นิเจอร์, แอร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า มีภาระภาษีอย่างไร และต้องทำ STOCK หรือไม่
10. ปัญหาภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายของธุรกิจขาย บ้าน อาคารชุด อสังหาริมทรัพย์ • จ่ายค่าแรง, ค่านายหน้า, ค่าคอมมิชชั่น ต้องหักภาษีอย่างไร • ค่าบริการ, ขายพร้อมติดตั้ง, รับเหมาแยกค่าสินค้า หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร • ซื้อสินค้าพร้อมติดตั้ง, ค่าขนส่ง, ค่าจ้างตกแต่งภายในหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร • ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ค่าเช่าป้าย ค่าโฆษณาทางโทรทัศน์-วิทยุ ค่าเช่าพื้นที่ออกบู๊ธ, ค่าเช่าสำนักงาน
11. ทำสัญญาขายที่ดิน 1 ฉบับ และสัญญารับจ้างสร้างบ้าน 1 ฉบับ ผู้ขายหรือรับจ้างมีภาระภาษีอย่างไร • ลูกค้านำไปหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ จากราคาใด
12.บุคคลธรรมดากับภาระภาษีจากการขาย บ้าน อาคารชุด อสังหาริมทรัพย์ • อย่างไรจึงจะถือว่ามุ่งค้าหากำไร • เลือกเสียภาษีได้หรือไม่
13. ปัญหาเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ • ทำสัญญาอย่างไรให้ประหยัดภาษี • รับเงินแล้วแต่ยังไม่โอนถือเป็นการขายและต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ • รับเงินเป็นงวดๆและยังสร้างไม่เสร็จจะเสียภาษีอย่างไร
14. เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และอายุความประเมิน รับมืออย่างไรหากสรรพากรเข้าตรวจ
|