คนเรามักสื่อสารตามความคิด ความต้องการของตนเองโดยคาดหวังให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสาร แต่ที่แท้จริงแล้ว มิใช่เช่นนั้น สำหรับหัวหน้างานผู้ซึ่งต้องดูแลและบริหารคน ต้องอาศัยความสามารถด้านการสื่อสารผนวกกับศาสตร์ด้านจิตวิทยาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน ยิ่งสื่อสารได้ดี ยิ่งเกิดความเข้าใจ ได้ใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกน้อง ส่งผลให้สัมพันธภาพและประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
• เข้าใจหลักจิตวิทยาการสื่อสารกับบทบาทของหัวหน้างานในการสร้างแรงบันดาลใจลูกน้องที่คาดหวังได้
• ประยุกต์หลักการ เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ ของ "จิตวิทยาการสื่อสาร" ไปใช้ได้ในการทำงานจริง
วิทยากรโดย อาจารย์พรเทพ ฉันทนาวี
หัวข้อสัมมนา
1. จิตวิทยาและการสื่อสาร: รูปแบบการสื่อสารและปฏิกิริยาของผู้รับสาร 1.1 รูปแบบการสื่อสาร 1.1.1 “ยึดตนเองเป็นหลัก” เชิงบอกความต้องการ และเชิงกด (ข่ม) ผู้อื่น 1.1.2 “ยึดคู่สนทนาเป็นหลัก” เชิงแสวงหาการยอมรับ และเชิงยกย่อง (ให้กำลังใจ) ผู้อื่น 1.2 ปฏิกิริยาของผู้รับสาร 1.2.1 ต่อต้าน / ปฏิเสธ 1.2.2 วิตกกังวล / ลังเล 1.2.3 ยอมรับ / ปฏิบัติ
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มสัมพันธภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน 2.1 ระยะเวลา 2.2 การมีส่วนร่วม 2.3 กระบวนการ วิธีการ ขั้นตอน 2.4 ผู้ร่วมงาน 2.5 ความเป็นไปได้และโอกาส 2.6 สิ่งสนับสนุนและเครื่องมือ 2.7 ความคิดและมุมมอง
3. เทคนิคทางจิตวิทยากับการสื่อสารที่ใช้แล้วได้ผลสำหรับการทำงาน 3.1 เทคนิค “ปักหมุด” สื่อสารแล้วได้งานดังใจ 3.2 เทคนิค “ติดฉลาก” สื่อสารอะไร...ได้อย่างนั้น 3.3 เทคนิค “ให้เลือก” สื่อสารแล้วมักได้มากกว่าเสีย 3.4 เทคนิค “สะกิดใจ” สื่อสารแล้วส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3.5 เทคนิค “ประกบ” สื่อสารแล้วยอมรับในข้อบกพร่อง
4. การสื่อสารไร้เสียง...เทคนิคร่วมทางจิตวิทยา 4.1 การใช้ “สายตา” 4.2 การใช้ “สีหน้า” 4.3 การใช้ “ท่าที” 4.4 การใช้ “มือ” 4.5 การใช้ “ระดับ”“นั่ง/ยืน 4.6 การใช้ “ระยะห่างและขอบเขต”
5. M-A-G-I-C : ขั้นตอนการสื่อสารในสถานการณ์ยุ่งยาก 5.1 Manage your voice: บริหารโทนเสียงให้อยู่ในอารมณ์ปกติ 5.2 Act positively response: ต้อนรับสถานการณ์อย่างมืออาชีพ 5.3 Get to the heart of matters: ฟังและจับประเด็นสำคัญให้ได้ 5.4 Interpret the facts: ย้ำในข้อเท็จจริงที่ตรงกัน 5.5 Close with agreement together: สรุปจบประเด็นปัญหาด้วยกัน
|