การควบคุมภายในเกี่ยวกับระบบงานคลังสินค้าคงเหลือเพื่อป้องกันความเสียหายและการทุจริต (หลักสูตรใหม่ปี 2567)

รหัสหลักสูตร : 21/02425P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเพื่อป้องกันการทุจริต

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี รออนุมัติ
ผู้สอบบัญชี รออนุมัติ
  • วิธีการบริหารจัดการสินค้าคงเหลือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • วิธีการควบคุมภายในเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงเหลือ เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตในองค์กร
  • วิธีการป้องกันการทุจริต จากการควบคุมภายในคลังสินค้าที่อาจจะเกิดขึ้นในองค์กร

วิทยากรโดย  ดร.วรกร แช่มเมืองปัก

หัวข้อสัมมนา

1. คํานิยามของสินค้าคงเหลือ
    1.1 ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ
    1.2 อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิต
    1.3 อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ

2. การบริหารและการจัดการสินค้าคงคลังแบบมืออาชีพ
    2.1 ความสําคัญในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
    2.2 เครื่องมือและเทคนิคที่นักบัญชีต้องรู้
    2.3 การจัดเตรียมระบบเอกสาร การจัดทําเอกสาร และการบันทึกรายการทางบัญชีที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความเสียหายและการทุจริตในระบบคลังสินค้า

3. ประเภทของสินค้าคงเหลือตามลักษณะการประกอบธุรกิจ
    3.1 ธุรกิจซื้อมา-ขายไป
    3.2 ธุรกิจผลิตสินค้า
    3.3 ธุรกิจบริการ

4. การประเมินความเสี่ยงในเรื่องทุจริตกระบวนการบริหารสินค้าคงเหลือ
    4.1 การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงการควบคุมภายในการบริหารสินค้าคงเหลือ
    4.2 การใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยง (Fraud Risk Assessment Tool)
    4.3 แนวทางการตรวจสอบการควบคุมและการป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติงานระบบสินค้าคงเหลือ
    4.4 ระดับความเสี่ยงเกี่ยวกับโอกาสที่อาจเกิดการทุจริตในรูปแบบ การขโมยทรัพย์สินก่อนการบันทึกบัญชี
    4.5 ระดับความเสี่ยงเกี่ยวกับโอกาสที่อาจเกิดการ การทุจริตในการขโมยสินค้าคงคลังและอุปกรณ์
    4.6 ระดับความเสี่ยงเกี่ยวกับโอกาสที่อาจเกิดการการทุจริตในรูปแบบความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสินค้าคงเหลือ

5. กระบวนการจัดการคลังสินค้าและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่มักเกิดความผิดพลาดและช่องทางโอกาสการทุจริต
    5.1 การรับสินค้าและพัสดุเข้าสู่คลังสินค้า
    5.2 การเบิกจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า มีการเบิกจ่ายแบบใดบ้าง
    5.3 การโอนย้ายสินค้าในคลัง และระหว่างคลังต่างๆ
    5.4 การเบิกใช้ภายในบริษัท
    5.5 การตรวจนับสินค้าคงเหลือและการปรับปรุงรายการสินค้าขาดเกิน

6. การกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
    6.1 มูลค่าของสินค้าคงเหลือ
    6.2 การตัดจําหน่ายสินค้าคงเหลือทางบัญชี (Write Off)
    6.3 การตรวจนับสินค้าคงเหลือ
    6.4 หลักเกณฑ์การตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ

7. ปิดรอยรั่วธุรกิจด้วยการออกแบบระบบการควบคุมภายในที่ดีสำหรับระบบสินค้าคงเหลือ (Best Practices Anti-Fraud Controls for Inventory Cycle)

8. การควบคุมภายในเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงเหลือ เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น
    8.1 กำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือที่เหมาะสมเพื่อการสั่งซื้อ (Min / Max Stock)
    8.2 กำหนดปริมาณสินค้าสําเร็จรูปที่เหมาะสมในการขาย (Safety Stock)
    8.3 จัดทำรายงานการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือ (Stock Movement Report)
    8.4 จัดทำรายงานอายุของสินค้าคงเหลือ (Aging Inventory Report)
    8.5 จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือหมดอายุ / เสื่อมคุณภาพ / ล้าสมัย (Dead Stock Report)
    8.6 วิเคราะห์เปรียบเทียบยอดขายกับปริมาณสินค้าคงเหลือ
    8.7 วิเคราะห์ Demand / Supply ของสินค้าคงเหลือ ครอบคลุมทั้งปริมาณและราคา
    8.8 วิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต

9. การควบคุมภายในเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดซื้อสินค้าคงเหลือ เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น
    9.1 การขอซื้อ
    9.2 การสั่งซื้อ
    9.3 การรับของ
    9.4 การบันทึกบัญชี (Stock Report)

10. การควบคุมภายในเกี่ยวกับคลังสินค้า เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น
     10.1 กำหนดผู้รับผิดชอบดูแลคลังสินค้า
     10.2 ติดตั้งกล้องวงจรปิด
     10.3 กำหนดแนวทางปฏิบัติและเอกสาร เมื่อต้องนําสินค้าเข้า-ออกจากคลัง ต้องใช้เอกสารใดบ้าง
     10.4 กำหนดให้คลังสินค้าตรวจนับสินค้าทุกสิ้นวันและเปรียบเทียบกับระบบคอมพิวเตอร์
     10.5 กำหนดรูปแบบการจัดเก็บสินค้าให้เหมาะสม เป็นหมวดหมู่เรียงตามอายุสินค้า
     10.6 กำหนดให้การนําสินค้าคงเหลือไปใช้ / ขาย ให้เบิกตาม FIFO

11. การควบคุมภายในเกี่ยวกับการตรวจนับสินค้าคงเหลือ เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น
     11.1 จัดทำคู่มือการตรวจนับสินค้าคงเหลือ
     11.2 จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจก่อนการตรวจนับจริง
     11.3 จัดทำรายชื่อผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งรายชื่อผู้ทำหน้าที่ตรวจนับ (Checker)
     11.4 พิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือตามพื้นที่ประกอบการตรวจนับ(ไม่แสดงปริมาณและจำนวนเงิน)
     11.5 ให้ผู้ทำหน้าที่ตรวจนับ (Checker) ลงนามรับเอกสารประกอบการตรวจนับ
     11.6 เมื่อตรวจนับเสร็จให้ผู้รับผิดชอบในพื้นที่และ Checker ลงนามในเอกสารการตรวจนับ
     11.7 นําส่งเอกสารคืนฝ่ายบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร

12. การบริหารจัดการความเสียหายที่กระทบการการบันทึกรายการบัญชี
     12.1 สินค้าหมดอายุ
     12.2 เสื่อมคุณภาพ
     12.3 สินค้าชํารุด
     12.4 สินค้าคุณภาพตํ่ากว่ามาตรฐาน
     12.5 เศษซากวัสดุเหลือจากการผลิต

13. การบริหารจัดการปัญหาจากการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทุจริต
     13.1 ปริมาณสินค้าคงเหลือตรวจนับจริงสูงกว่า หรือต่ำกว่ายอดคงเหลือทางบัญชี

14. กรณีศึกษาเกี่ยวกับการทุจริตในหน่วยงานคลังสินค้า

15. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี



นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
รอ 0:0 รอ 0:0

วิทยากร

ดร.วรกร แช่มเมืองปัก

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba