เทคนิคการสอบทานงานทางบัญชี เพื่อจัดทำงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ (CPA บัญชี 5 ชม. จรรยาบรรณ 1 ชม.)

รหัสหลักสูตร : 21/04143P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 1,605 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 1,819 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 

เทคนิคการสอบทานงานทางบัญชี

เพื่อจัดทำงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี

บัญชี 6 ชั่วโมง

ผู้สอบบัญชี

บัญชี 5 ชั่วโมง
จรรยาบรรณ 1 ชั่วโมง

 

บรรยายโดย : ดร.วิทยา อรุณศิริเพ็ชร

หัวข้อสัมมนา

1.วัตถุประสงค์ของจัดทำงบการเงินโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบบัญชีที่มีผลต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี
2.ระบบการควบคุมภายในของกิจการกับการใช้เทคนิคการตรวจสอบงานบัญชีในการทำบัญชี
และงบการเงิน
3.เทคนิคการตรวจสอบที่จำเป็นต่อกระบวนการจัดทำงบการเงินเพื่อใช้ในการเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชีและข้อมูลทางการเงิน
3.1 เทคนิคการตรวจสอบการผ่านรายการ (Posting)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการตรวจสอบการผ่านรายการต่อการจัดเตรียมข้อมูลทางบัญชี
  และต่องบการเงิน
- การใช้เทคนิคการตรวจสอบการผ่านรายการร่วมกับการวิเคราะห์รายการและเทคนิคการตรวจสอบเอกสาร
3.2 เทคนิคการติดตามรายการ (Tracing)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการติดตามรายการในกรณีต่างๆ เช่น การวิเคราะห์รายการค้างรับหรือค้างจ่าย
   รายการ ลูกหนี้ เจ้าหนี้
- วิธีการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนผ่านรายการย้อนกลับจากงบทดลองไปสู่เอกสาร
   ประกอบการลงบัญชี
3.3 เทคนิคการตรวจดู (Inspection)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการตรวจดูต่อการจัดเตรียมข้อมูลทางบัญชี และต่องบการเงิน
  และข้อควรระวังของการใช้เทคนิคการตรวจดู
- การตรวจสอบเอกสารทางบัญชี หลักฐานทางกฎหมาย หลักฐานทางกายภาพ กับความสัมพันธ์
  ต่อความถูกต้องของเนื้อหาสาระ ปริมาณ มูลค่า และความมีอยู่จริง ของรายการในงบการเงิน
- การตรวจสอบดูรายการบัญชีและการบันทึกบัญชีควบคู่กับเทคนิคอื่น
3.4 เทคนิคการตรวจนับ (Counting)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการตรวจนับต่อการจัดเตรียมข้อมูลทางบัญชี และต่องบการเงิน
  และข้อควรระวังของการใช้เทคนิคนี้
- รายการในงบการเงินที่สามารถใช้เทคนิคการตรวจนับเพื่อดูความมีอยู่จริง สภาพของสิ่งที่ตรวจนับ
  ปริมาณ และวิธีการเก็บรักษา
3.5 เทคนิคการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญ (Vouching)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญ และข้อควรระวัง
- วิธีการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญและเอกสารประกอบ เพื่อให้ได้ความเพียงพอของข้อมูล,
  ความน่าเชื่อถือ ,ความถูกต้อง และครบถ้วนของเอกสารหลักฐานในเนื้อหาสาระ
3.6 เทคนิคการคำนวณ (Recomputation)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการคำนวณ และข้อควรระวัง
- รายการบัญชีที่นิยมใช้เทคนิคการคำนวณเพื่อความมั่นใจในความถูกต้องของตัวเลขในการบันทึกบัญชี
3.7 เทคนิคการสอบถาม (Inquiry)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการสอบถามต่อการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการจัดทำงบการเงิน และข้อควรระวัง
- ประเภทของข้อมูลที่สอบถามได้จากบุคคลที่มีความรู้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ
3.8 เทคนิคการตรวจทาน (Verification)

- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการตรวจทานกับความถูกต้องของข้อมูลทางการเงิน
- การหาหลักฐานยืนยันข้อสมมุติฐานในการจัดทำงบการเงินกับรายการทางบัญชีต่างๆ
4. เทคนิคการทำงานของผู้สอบบัญชีที่ผู้ทำบัญชีสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อค้นหาข้อผิดพลาดและแก้ไขข้อมูลทางบัญชีให้สมบูรณ์
4.1 เทคนิคการสังเกตการณ์ (Observation)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการสังเกตการณ์ต่อการจัดเตรียมข้อมูลทางบัญชี และต่องบการเงิน
  และข้อควรระวังของการใช้เทคนิคการสังเกตการณ์
- การใช้เทคนิคสังเกตการณ์ในงานด้านบัญชี เช่นการการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ,
  การปฏิบัติงานเป็นไปตามกระบวนการหรือระเบียบการทำงานของกิจการ
- น้ำหนักของความเชื่อถือได้ของข้อมูลทางบัญชีที่ได้จากการสังเกตการณ์ที่นักบัญชีต้องระวัง
4.2 เทคนิคการขอคำยืนยัน (Confirmation)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการขอคำยืนยัน และข้อควรระวัง
- การขอคำยืนยันข้อมูลกับบุคคลที่ 3 หรือบุคคลภายนอก และความเชื่อถือได้
- รายการบัญชีที่นิยมใช้เทคนิคการขอคำยืนยัน
4.3 เทคนิคการตรวจสอบหารายการผิดปกติ (Scanning)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการตรวจหารายการผิดปกติ และข้อควรระวัง
- รายการผิดประเภทบัญชี, รายการผิดปกติ, รายการบันทึกบัญชีที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงาน
  ทางการเงินที่เลือกใช้
4.4 เทคนิควิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical)
- ประโยชน์ของการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
- เทคนิคการ เปรียบเทียบข้อมูลของงวดปัจจุบันกับงวดก่อนทั้ง vertical และ Horizontal
- การเปรียบเทียบทั้ง Quantitative และ qualitative และการตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล
  กับคู่บัญชี
- ผลที่คาดการณ์จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
5. ลักษณะหลักฐานทางบัญชีที่นักบัญชีจะได้จากการใช้เทคนิคต่างๆ ในรูปแบบ เอกสาร
   ข้อมูล สมมติฐาน
6. ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาถึงความเชื่อถือได้ของข้อมูลที่ได้รับจากการใช้เทคนิคต่างๆ
7. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

7.1 วิวัฒนาการของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย

7.2 ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561
      - หลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณ
      - การนำหลักการพื้นฐานไปปฏิบัติ
7.3 สรุปเนื้อหาและการเปลี่ยนแปลงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
7.4 โครงสร้างคู่มือประมวลจรรยาบรรณ พ.ศ.2564

 

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 5:0 0:0

นับชั่วโมงจรรยาบรรณได้ 1:0 ชั่วโมง

วิทยากร

ดร.วิทยา อรุณศิริเพ็ชร

สถานที่

โรงแรมเดอะพาลาสโซ
111 ซอยเนียมอุทิศ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-276-4995
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba