วิทยากรโดย คุณเกรียงไกร นิศากร
หัวข้อสัมมนา
1. สรุปหลักเกณฑ์สำคัญของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 1.1 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560, ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 1.2 การกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง - วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (e-market, e-bidding, สอบราคา) - วิธีคัดเลือก - วิธีเฉพาะเจาะจง
2. ข้อสังเกต/ข้อบกพร่อง/การทุจริต ที่มักพบตามกระบวนการขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง 2.1 แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาวัสดุไม่สอดคล้องกับกำหนดเวลาที่ควรจะเป็นในการปฏิบัติงานจริงของผู้ใช้งาน - การเร่งซื้อเร่งจ้างตอนปลายปีงบประมาณ 2.2 การกำหนดรายละเอียดพัสดุมีล็อกสเปค 2.3 การซื้อพัสดุในราคาที่สูงเกินจริง เช่น ไม่ใช้ราคาวัสดุตามที่ประกาศ ไม่มีหลักฐานการสืบราคา ไม่จัดซื้อจัดจ้างจากผู้มีอาชีพ ฯลฯ 2.4 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น มีปัญหาการแบ่งแยกวงเงินเพื่อแบ่งซื้อแบ่งจ้างเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างรายใดรายหนึ่ง (โดยใช้วิธีเจาะจง )ฯลฯ 2.5 การประกาศสอบราคา 2.6 คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง เช่น มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง 2.7 บริหารสัญญา (สัญญาเอื้อประโยชน์ ฯลฯ) - การทำสัญญาไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ - เอกสารประกอบการทำสัญญาไม่ครบถ้วน - ไม่มีการสอบยันหลักประกันสัญญา - การแก้ไขสัญญา หรือการเปลี่ยนแปลงรายการในสัญญามีการเอื้อประโยชน์ - การผ่อนปรน/บอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ - การงด/ลดค่าปรับ เมื่อมีการขยายระยะเวลาสัญญาไม่เป็นไปตามระเบียบ ทำให้ผู้ส่งงานล่าช้าโดยไม่เสียค่าปรับ 2.8 การปฏิบัติงานของหน่วยงานผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างที่ไม่เป็นไปตามสัญญาและแผนการจัดซื้อจัดจ้าง - ผู้ว่าจ้างได้รับงบประมาณแล้ว ไม่ดำเนินการทันที ทำให้ราคาพัสดุที่จะจัดซื้อสูงกว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรร - ผู้ว่าจ้างได้รับจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติม แต่ไม่จัดทำรายงานแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง - หน่วยงานไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดซื้อ ตรวจรับพัสดุเพื่อรับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลง หรือมีการแต่งตั้ง แต่คณะกรรมการฯ ไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ - หน่วยงานไม่มีการตรวจสอบจากฝ่ายต่างๆ (เช่น ผู้ตรวจสอบภายใน) หรือมีแต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือมีการปฏิบัติหน้าที่แต่ไม่เป็นอิสระ ทำให้การปฏิบัติงานขาดระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกัน - มีการจัดซื้อจัดจ้างในวงเงินที่ต่ำหรือเกินกว่าที่ระเบียบฯกำหนดไว้ หรือ จัดซื้อเกินกว่าราคากลาง/วงเงินที่กำหนด - ผู้ว่าจ้างบริหารจัดการเงินงบประมาณเหลือจ่าย โดยนำไปใช้จ่ายเพื่อการอย่างอื่น หรือไม่ประหยัด ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อโดยไม่จำเป็น - ผู้ว่าจ้างทำเอกสารใบตรวจรับพัสดุเป็นเท็จใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน - ผู้รับจ้างทำงานล่วงหน้าก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลง - ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ส่งมอบพัสดุ/งานตามกำหนดสัญญา ส่งมอบไม่ครบ หรือส่งมอบหลังจากที่มีการตรวจรับและเบิกจ่ายเงินแล้ว 2.9 การตรวจรับพัสดุ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ผู้ควบคุมงานไม่ครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบ 2.10 ระยะเวลาในการตรวจการจ้างงานก่อสร้างและการตรวจรับพัสดุ 2.11 การบริหารพัสดุ การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย (การควบคุมและการใช้ประโยชน์ เช่น การลงบัญชีหรือลงทะเบียนการเก็บรักษาพัสดุ ฯลฯ)
3.ความผิดวินัยและบทกำหนดโทษของผู้กระทำความผิด เมื่อ สตง.ตรวจพบข้อบกพร่อง 3.1 หน้าที่ของ สตง. 3.2 เรียกชดใช้เงินคืนเมื่อเกิดความเสียหาย 3.3 โทษทางปกครอง เมื่อกระทำผิด (ภาคทัณฑ์, ตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ, ปรับทางปกครอง) 3.4 ความรับผิดทางแพ่งและอาญา
|