วิทยากรโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายภาษีอากร
หัวข้อสัมมนา
1. เจาะลึกปัญหาภาษีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ - จ่ายอย่างไร - จ่ายค่าอะไร - จ่ายให้ใคร
2. หลักการพิจารณาประเภทเงินได้และการนำส่งภาษี
3. ความแตกต่างในการเสียภาษีของบริษัทต่างประเทศที่มี PE และไม่มี PE ในไทย - สถานประกอบการกับประเด็นการหักภาษีณ ที่จ่าย - มีสำนักงานสาขาถาวรในไทย, มีสำนักงานตัวแทน - มีลูกจ้าง, ผู้ทำการแทน, ตัวแทนในไทย - หลักพิจารณา 3 A ที่จะถือเป็นสถานประกอบการ
4. ประเด็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 54) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ที่ต้องระวัง - การจ่ายและรับค่าคอมมิชชั่น (Commission) - การรับทํางานให้ตามมาตรา 40(2) กับรับจ้างตามมาตรา 40(8) - การใช้ Know How , Royalty , สิทธิบัตร , ด้านวรรณกรรม, ศิลปกรรม - การซื้อหรือได้ใช้ Software Computer มาใช้ในไทย - กรณีซื้อ โปรแกรม Software Computer โดยเป็นการซื้อขาด - ค่าที่ปรึกษาทางเทคนิค (Technical Consultation) , ค่าให้ข้อมูลทางเทคนิค (Technical Information) ,ค่าให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance) - จ่ายค่าออกแบบโดยมีกรณีกรรมสิทธิไม่โอนและโอนมายังผู้ว่าจ้าง - จ่ายค่าเช่า - จ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อชําระค่าโดเมนที่ต่างประเทศ - การจ่ายเงินปันผล ดอกเบี้ย จําหน่ายเงินกําไร - จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม / ค่าธรรมเนียม / ดอกเบี้ยจากการชำระเงินล่าช้า - จ่ายค่าที่ปรึกษาการวางแผนการตลาด - จ่ายค่าโฆษณาให้กับ ผู้ประกอบการ e-Service เช่น Google, Facebook ,YouTube, Netflix, Line, Shopee,Lazada และแพลตฟอร์มอื่น - ส่งพนักงานไปอบรมที่ต่างประเทศ - จ่ายค่าบริการใช้ข้อมูลทาง Internet - จ่ายค่าเครื่องจักรพร้อม Software - จ่ายเงินค่าบริหารจัดการให้บริษัทแม่ที่ต่างประเทศ - จ่ายค่าบริการ online ให้ต่างประเทศ - การนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทต่างประเทศ - การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกรณีต้องนำส่ง ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36
5. หลักเกณฑ์การใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในการขจัดภาษี - กรณีถูกหักภาษีไว้ต้องการขอคืนภาษีต้องทำอย่างไร - กรณีจ่ายเงินไปยังประเทศที่มีภาษีซ้อนต้องพิจารณาอย่างไร - ประเทศที่มีภาษีซ้อนกับประเทศไทยจะไม่ถูกหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณีหรือไม่
6. ปัญหาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 และการนําส่งภาษีด้วยระบบ e - Withholding Tax - กรณีใดบ้างที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.54 และยื่น ภ.พ.36 - กรณีใดที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.54 แต่ไม่ต้องยื่น ภ.พ.36 - กรณีใดที่ต้องยื่น ภ.พ.36 แต่ไม่ต้องยื่น ภ.ง.ด.54 - นำส่ง ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ. 36 เกินไปขอคืนได้หรือไม่ - กรณีให้ธนาคารหัก ณ ที่จ่ายหากหักขาดไปใครเป็นผู้รับผิดชอบ - ธนาคารสามารถนําส่ง ภ.พ.36 แทนบริษัทได้หรือไม่ - กรณีต้องการให้ธนาคารออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่ายเป็นภาษาอังกฤษทําได้หรือไม่
7. บทลงโทษกรณียื่นไม่ครบ ผิดพลาดคลาดเคลื่อน - ไม่ได้หักนำส่ง นำส่งไม่ครบ นำส่งผิดบริษัท - กรณีไม่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภพ.36 แต่ได้ยื่นและเสียภาษีไปแล้วจะนํามาเครดิตได้หรือไม่
เงื่อนไข
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ีระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand)หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ใน ระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายในวันถัดไปหลังเสร็จสิ้นการอบรม *** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) ***
|