- 10 ประเด็น ปัญหาการลงรายจ่ายค่ารับรอง
- รายจ่ายต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร (ม.65 ทวิ, ม.65 ตรี)
- อย่างไรเรียกว่า “รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวให้โดยเสน่หา”
วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์
หัวข้อสัมมนา
1. รายจ่ายต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร (ม.65 ทวิ, ม.65 ตรี) ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฎิบัติ
- ขายสินค้าให้พนักงานในราคาต่ำกว่าราคาตลาดสรรพากรยอมรับหรือไม่
- ให้กรรมการกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ยทำได้หรือไม่
- ให้ส่วนลดกับลูกค้าโดยไม่มีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย
- การหักค่าเสื่อมจะหักอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดทำได้หรือไม่
- ปัญหาการจำหน่ายหนี้สูญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
- การแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ เงิน ทรัพย์สินหรือหนี้สินตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
- สินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาทุนส่วนต่างลงรายจ่ายได้หรือไม่
2. เงินสำรองที่ตั้งตามหลักบัญชีลงรายจ่ายทางภาษีได้ หรือไม่
- การตั้งสำรองเงินปันผล
- การประมาณการหนี้สินกรณีพนักงานเกษียณอายุตามมาตรฐานบัญชี
- การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
- ค่าเผื่อการลดมูลค่าของเงินลงทุน ต้องบวกกลับในแบบ ภ.ง.ด.50 หรือไม่
- บริษัทมีลูกหนี้เกินกำหนดชำระ จำนวน 5 เดือนจะตั้งค่าเผื่อหนี้สูญได้หรือไม่
- ตั้งสำรองค่าภาษีโรงเรือน ที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ไว้ต้องบวกกลับหรือไม่
3. ตั้งเงินกองทุนเพื่อให้พนักงานกู้ยืมลงรายจ่ายได้หรือไม่
4. อย่างไรเรียกว่า “รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวให้โดยเสน่หา”
- ให้เงินช่วยเหลือพนักงานโดยไม่มีระเบียบเขียนไว้ลงรายจ่ายได้หรือไม่
- เครื่องดื่มชา กาแฟ ที่ให้พนักงานดื่มลงรายจ่ายบริษัทได้หรือไม่
- ภาษีที่ออกให้พนักงานลงรายจ่ายได้หรือไม่
- ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายให้กับพนักงานที่นำรถมาใช้ในการปฏิบัติงานให้บริษัท (เฉพาะพนักงานที่มีรถ)
- จ่ายค่าเดินทางให้กรรมการไปดูงานที่ต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
- กรรมการเดินทางไปติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศ มีค่าที่พักค่าอาหาร ใบเสร็จเป็นชื่อกรรมการบริษัทลงรายจ่ายได้หรือไม่
- บริษัทถวายปัจจัยให้แด่พระสงฆ์ ที่มาทำพิธีให้กับบริษัทถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่ และต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- บริษัทจ่ายเงินสนับสนุนให้ส่วนราชการต่าง ๆ และแจกทุนโดยผ่านสมาคม ถือเป็นเงินบริจาคได้หรือไม่ ทำอย่างไรลงรายจ่ายได้
- ให้เงินช่วยเหลือเงินสนับสนุนแก่ตัวแทนจำหน่ายในการจัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้พนักงานของตัวแทนจำหน่าย
- การนำสินค้าที่ตกรุ่น ล้าสมัยไปบริจาค
- บริษัทมีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัท
- ตามอัตราที่กำหนด โดยใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณ
- เพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานมีภาระภาษีอย่างไร
- ลูกค้าเปิดกิจการมอบดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีลงเป็นค่ารับรองได้ใช่หรือไม่
5. 10 ประเด็น ปัญหาการลงรายจ่ายค่ารับรอง
- กระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าลงรายจ่ายได้หรือไม่
- พาลูกค้าไปดูคอนเสิร์ต ตีกอล์ฟ ไดร์กอล์ฟ สปา นวดแผนโบราณลงค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 2,000 บาท ใช่หรือไม่
- ค่ารับรองที่จ่ายไปเกิน 2,000 บาท ไม่สามารถลงรายจ่ายได้ทั้งก้อนใช่หรือไม่
- ยอดรายได้ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณคิดค่ารับรอง
- ค่ารับรองที่ไม่สามารถแจงรายละเอียดได้แต่มีการอนุมัติจากกรรมการลงรายจ่ายได้หรือไม่
- ค่ารับรองที่ไม่ได้ระบุชื่อลูกค้าว่ารับรองใคร อย่างไร ลงรายจ่ายได้หรือไม่
- การให้ลูกค้ามาใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายถือเป็นค่ารับรองได้หรือไม่
- จัดนำเที่ยวให้กรรมการถือเป็นค่ารับรองหรือไม่
- ส่งสินค้าให้ลูกค้าใช้โดยไม่ได้ทำเป็นกิจกรรมส่งเสริมการขายถือเป็นค่ารับรองใช่หรือไม่
- วิธีการคำนวณหารายจ่ายค่ารับรองที่ไม่เกิน 0.3 คำนวณอย่างไร
6. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนลงรายจ่ายได้หรือไม่
- ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานราคาไม่เกิน 500 บาทลงรายจ่ายได้หรือไม่
- บริษัทมีการจ่ายเงินค่าตกแต่งอาคาร เช่น ค่าทาสีใหม่ปูพื้นใหม่ และซ่อมแซมเครื่องสุขภัณฑ์
- สามารถนำมาตัดจ่ายภายใน 5 ปี โดยไม่นำไปคิดเป็นค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
- บริษัทซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป โดยให้บริษัทผู้ขายพัฒนาโปรแกรมให้ใช้ได้ตามที่บริษัทต้องการค่าพัฒนาโปรแกรม ดังกล่าว ถือเป็นต้นทุนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวน
7. ปัญหาการจ่ายค่าภาษีอากร เบี้ยปรับเงินเพิ่ม
- ภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บแต่บริษัทไม่ขอคืน บริษัทฯจะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตอนสิ้นปีได้เต็มจำนวนหรือไม่
- จ่ายค่าปรับอากรของกรมศุลกากรลงรายจ่ายบริษัทได้หรือไม่
- บริษัทออกภาษีขายให้กับผู้ซื้อสินค้า บริษัทจะนำภาษีขายดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
- ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ควรบันทึกเป็นรายจ่าย หรือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ขอคืนแล้วภาษีซื้อที่ไม่ขอคืนถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
- บริษัทจ่ายเงินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ ได้หรือไม่
- บริษัทมีเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ชำระไว้เกินและไม่ประสงค์รับถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่
- ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนให้กับพนักงานลงรายจ่ายได้หรือไม่
- ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงรายจ่ายได้หรือไม่
- ภาษีธุรกิจเฉพาะที่จ่ายไปลงรายจ่ายได้หรือไม่
8. รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงหรือรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ทำอย่างไรให้ลงเป็นรายจ่ายได้
- ค่าทางด่วนทำอย่างไรลงรายจ่ายได้
- บิลเงินสดแนบพร้อมกับบัตรประชาชนเพียงพอกับการลงรายจ่ายของบริษัทหรือไม่
- บิลเงินสดแนบนามบัตรลงรายจ่ายได้หรือไม่
- เช็คขีดคร่อมชื่อผู้รับเงินถือว่าพิสูจน์ผู้รับเงินได้หรือไม่
9. ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืนแต่ได้มีการทำประกันไว้กับปัญหาการใช้ผลขาดทุนไม่เกิน 5 รอบระเวลาบัญชี
- บริษัทถูกน้ำท่วมทรัพย์สินเสียหายแต่ได้ทำประกันภัยไว้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะลงรายจ่ายได้เลยหรือไม่
- สินค้าเสียหายระหว่างทางได้รับค่าเสียหายเกินกว่าความเสียหายจริงส่วนเกินต้องรับรู้รายได้หรือไม่
- สินค้าเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมได้รับเงินชดเชยไม่คุ้มกับความเสียหายส่วนต่างลงรายจ่ายได้หรือไม่ และสินค้าที่ให้กับบริษัทประกันต้องนำส่ง VAT หรือไม่
10.ปัญหารายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ
- รายจ่ายที่สาขาในไทยจ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นค่าวิจัยและพัฒนาในลักษณะเฉลี่ยค่าใช้จ่าย (Cost Sharing) รายจ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้หรือไม่
11.ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง
12.บริษัทเช่าอาคารและจ่ายเงินมัดจำ ต่อมายกเลิกสัญญาก่อนกำหนด จึงถูกริบเงินมัดจำจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
|