- ธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในความหมายของสรรพากร - ภาระภาษีในธุรกิจรับขนสินค้าระหว่างประเทศทางเรือเดินทะเล - ข้อควรระวังในการยื่นเสียภาษีของตัวแทน
วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย
หัวข้อสัมมนา
1. ธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในความหมายของสรรพากร - ตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) ถือเป็นขนส่งหรือไม่
2. ภาระภาษีในธุรกิจรับขนสินค้าระหว่างประเทศทางเรือเดินทะเล - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
3. ปัญหาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจรับขนสินค้าระหว่างประเทศ ทางเรือเดินทะเล - กรณีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน รายได้และรายจ่ายที่จะนำมาเสียภาษี มีหลักเกณฑ์อย่างไร - ผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกามีหลักเกณฑ์อย่างไร - กรณีเช่าเรือขนส่งมาจากต่างประเทศ จะเสียภาษีในไทยอย่างไร - สายการเรือต่างประเทศ ขนเข้า/ขนออก ต้องเสียภาษีให้ประเทศไทยหรือไม่ - สายการเรือไทย ขนเข้า/ขนออกในไทย ต้องเสียภาษีอย่างไร มีหลักเกณฑ์ในการยกเว้นภาษีหรือไม่ - ปัญหาเกี่ยวกับรายจ่าย, รายจ่ายต้องห้าม
4. ปัญหารายได้-รายจ่ายที่จะนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - รายได้จากการรับฝากสินค้า ค้าธรรมเนียมที่เรียกเก็บนอกเหนือจากค้าระวาง - ปัญหารายได้ดอกเบี้ยที่เปิดบัญชีในนามตัวแทนเรือแต่จริง ๆ เป็นเงินของสายการเรือ จะเสียภาษีในนามใครและ วิธีปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง - ปัญหากำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน - Agent เปิดบัญชีเงินฝากแทนหากมีดอกเบี้ยเงินฝากจะเสียภาษีในอัตรา 5 % ได้หรือไม่ - Agent เปิดบัญชีเงินฝาก มีรายได้ แต่ไม่มีรายจ่ายจะคำนวณเพื่อเสียภาษีอย่างไร - วิธีดูรายได้ที่ขนออกไปแล้วจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่รายได้อะไรบ้าง - อะไรบ้างที่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการ - กรณีเกิดเหตุเสียหายระหว่างขนส่งทำให้สินค้าลูกค้าเสียหายบริษัทจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าลงรายจ่ายได้หรือไม่ - จ่ายที่ผ่านพิธีการแทนลูกค้าไปก่อนแล้วเรียกเก็บคืน ลงรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่
5. ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย - สายการเรือไทย/สายการเรือต่างประเทศ หัก ณ ที่จ่ายแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร - ค้าเฟดขาเข้า IN BOUND และ OUT BOUND ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร - การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทเป็นตัวแทนขนส่งทางเรือแล้วเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆจากลูกค้าหักอย่างไร - การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทจ่ายค่าลากจูงเรือลำเลียงและค่ารับจ้างขนถ่ายสินค้า - กรณีจ่ายเงินให้กับบริษัทที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อน ภาระภาษีจะต่างกันอย่างไรหรือไม่ - กรณีบริษัทขนส่งจ่ายค่าประกันภัยแทนลูกค้าต้องหักภาษีหรือไม่ - ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ อัตราเท่าใด
6. ปัญหาการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - การเสีย VAT 7%, 0% หรือยกเว้น มีหลักเกณฑ์อย่างไร - การออกค่าใช้จ่ายไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการต้องมี VAT หรือไม่ - การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์ (CharterServices) * ขนส่งสินค้าแบบการจ้างเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter) * การเหมาแบบมีกำหนดระยะเวลา (Time Charte) * ให้เช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter)
7. ปัญหาการขอคืนภาษีซื้อจากการขนส่งตั้งแต่บริษัทลูกค้าในไทยไปจนถึงบริษัทลูกค้าที่ต่างประเทศ ช่วงไหนที่ขอคืนได้บ้าง
8. ปัญหาของตัวแทนออกของที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุตัวผู้รับได้,ไม่มีใบเสร็จรับเงิน จะต้องทำอย่างไร - กรณีตัวแทนออกของไม่ยอมให้หักภาษี จะทำอย่างไร - ปัญหาการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนลูกค้าทำได้หรือไม่ - ปัญหาการสำรองจ่ายของบริษัทตัวแทน การรับรู้รายได้และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
9. ข้อควรระวังในการยื่นเสียภาษีของตัวแทน - มีตัวแทนหลายรายยื่นเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง - ตั้งตัวแทนเรือหลายคน ทุกคนยื่นเสียภาษีแทนได้หรือไม่ - หากตัวแทนไม่ได้ยื่นขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตัวแทนจะยื่นในนามตัวแทนเองได้หรือไม่แล้วผลเป็นอย่างไร - ตัวแทนเสียภาษีแทนสายการบิน/สายการเรือ ไม่ถูกต้องใครต้องรับผิด - สายการเดินเรือเสียภาษี ไม่ถูกต้องใครต้องรับผิด - ความเสี่ยงของตัวแทน/ภาระภาษีที่ตัวแทนต้องรับผิดชอบ
|