Cases สำคัญที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีมักตรวจสอบพร้อมวิธีการให้ปากคำ (ต.6)

รหัสหลักสูตร : 21/08031P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 7,490 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 8,560 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

-


Cases สำคัญที่เจ้าพนักงานประเมินภาษี
มักตรวจสอบพร้อมวิธีการให้ปากคำ (ต.6)


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

 

• Cases การต่อสู้คดีที่ชนะสรรพากร
• Cases จุดเสี่ยงของการเรียกและไม่เรียกเก็บค่าตอบแทนจากการขายหรือให้บริการกับบริษัทในเครือ Transfer Pricing
• Cases การตรวจสอบรายการบวกกลับที่นักบัญชีต้องระวัง และผลกระทบกับการเสียภาษี

วิทยากรโดย อาจารย์กัมพล ทรัพย์ปรุง

หัวข้อสัมมนา

1. 9 Cases ประเด็นรายได้ที่สรรพากรตรวจสอบและวิธีการรับมือ
1. เมื่อสรรพากรเปรียบเทียบรายได้กับปีภาษีก่อนจุดที่นักบัญชีต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงกับสรรพากร
2. ปัญหารายได้จากการทำ Barter ที่ไม่ได้รับรู้
3. ปัญหารายได้จากการส่งเสริมการขายประเด็นหลักที่นักบัญชีต้องระวัง
4. ปัญหารายได้ไม่สัมพันธ์กับต้นทุน/ค่าใช้จ่าย (รายได้น้อยกว่ารายจ่าย)
5. การบันทึกบัญชีด้านรายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการ
6. ปัญหาการให้ส่วนลดกับลูกค้า/บริษัทในเครือ สูงผิดปกติ
7. เมื่อสรรพากรให้เพิ่มรายได้ผลกระทบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย สิ่งที่นักบัญชีต้องระวัง
8. เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์สินแต่ไม่รับรู้กำไรเป็นรายได้
9. การตรวจสอบค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงาน ค่าจ้างพนักงานที่สูงกว่ารายได้ที่ได้รับ

2. 12 Cases เป้าหมายใหญ่ “รายจ่าย” ที่เกิดขึ้นในกิจการกับประเด็นการตรวจและวิธีการตรวจภาคพิศดาร
1. รายจ่ายที่ต้องบวกกลับทุกครั้งเมื่อสรรพากรตรวจสอบ
2. ค่าตอบแทนกรรมการลักษณะอย่างไร สรรพากรให้บวกกลับ
3. โบนัสพนักงาน กรณีบริษัทขาดทุนลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
4. ค่าที่ปรึกษา ค่านายหน้า ค่าตอบแทนกรณีพิเศษของกรรมการ
5. ไม่มีการบันทึกรายจ่ายข้ามรอบบัญชีเลย / ลงรายจ่ายเต็มจำนวนในรอบบัญชี
6. มีค่าใช้จ่ายบางรายการที่ไม่ควรเกิดในขึ้นในกิจการ
7. เจาะบัญชีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด สรรพากรมองอย่างไร
8. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร กับการให้บวกกลับของสรรพากร
9. มีรายจ่ายในการซื้อสินค้าสูง แต่รายได้ต่ำ
10. ส่งเสริมการขายการตรวจสอบรายจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีณ ที่จ่าย
11. ค่าตอบแทนกรรมการสูงกับผลของการตรวจสอบของสรรพากรจะเป็นอย่างไร
12. ค่าใช้จ่ายที่ไม่เคยจ่าย แต่มีการจ่ายในปีที่ถูกตรวจสอบ

3. 4 Cases การตรวจสอบรายการบวกกลับที่นักบัญชีต้องระวังและผลกระทบกับการเสียภาษี
1. รายจ่ายที่สรรพากรให้บวกกลับ ผลกระทบทางบัญชีภาษีในรอบบัญชีปัจจุบันและรอบบัญชีถัดไป
2. ภาษีที่เสียไว้ขาดตามแบบ ภ.ง.ด. 51
3. สรรพากรให้เพิ่มรายจ่ายต้องห้ามเพื่อเพิ่มยอดรายได้มีผลอย่างไร
4. ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกิน แต่ไม่ให้ขอคืนจะมีผลอย่างไร

4. วิธีการตรวจสอบภาษีแบบ “ย้อนเกร็ด” ผู้เสียภาษีของสรรพากร

5. ไม่ขอคืนภาษีที่เสียไว้เกินจะถูกตรวจสอบจริงหรือไม่

6. รายได้- รายจ่าย ที่สรรพากรให้เพิ่ม ทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจะกระทบกับงบการเงินหรือไม่

7. จุดตรวจเมื่อกระทบยอด ภ.ง.ด. 50 ภ.พ. 30 เเละ ภ.ง.ด. 53

8. 9 Cases จุดเสี่ยงของการเรียกและไม่เรียกเก็บค่าตอบแทนจากการขายหรือให้บริการ
กับบริษัทในเครือ Transfer Pricing

1. การขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างกันในราคาพิเศษ
2. การขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างกันโดยไม่เรียกเก็บค่าตอบแทน
3. การถ่ายโอนกำไรระหว่างกัน เพื่อการเลี่ยงภาษี
4. การให้ส่วนลดมากกว่าลูกค้ารายอื่น
5. การใช้พนักงานทำงานชุดเดียวกัน
6. การยืมเงินทดรองจ่าย
7. มีรายจ่ายเพิ่มแต่รายได้ลด
8. ทรัพย์สินลดแต่รายได้ไม่เพิ่ม
9. จ่ายปันผล แต่ไม่มีเงินสด ต้องกู้ธนาคาร

9. ถูกสรรพากรเรียกพบก่อนยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50, 51 สรรพากร มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรและนักบัญชี
ต้องเตรียมตัวอย่างไร


10. เทคนิคการให้ปากคำ (คำให้การ) กับเจ้าหน้าที่สรรพากร
1. ให้ปากคำอย่างไร ไม่ถูกสรรพากรประเมิน
2. การเตรียมตัว เอกสาร ข้อมูลในการให้ปากคำ
3. ข้อควรระวังเเละสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการบันทึกคำให้การ ต.6 ของเจ้าหน้าที่สรรพากร

11. ตัวอย่างการให้ปากคำ กับเจ้าหน้าที่สรรพากรที่เป็นผลดีเเละผลเสียกับกิจการจากประสบการณ์
การทำงานจริงของวิทยากร

12. การจับเท็จของเจ้าหน้าที่สรรพากรจากการให้ปากคำของนักบัญชี

13. 5 Cases การต่อสู้คดีที่ชนะสรรพากร

14. ปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

1. การใช้สิทธิประโยชน์จากการซื้อ Software
2. การใช้สิทธิประโยชน์จากการลงทุนในทรัพย์สิน
3. การใช้สิทธิประโยชน์ด้านรายได้
4. การใช้สิทธิประโยชน์ด้านรายจ่าย

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์กัมพล ทรัพย์ปรุง

สถานที่

โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
4 ถ.สุขุมวิท ซ.2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
02-656 7700
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4 (เดิน 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba