เจาะลึก 3 ภาษีที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ไม่ควรพลาด(จัดอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom)

รหัสหลักสูตร : 21/01780Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,601 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เจาะลึก 3 ภาษีที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ ไม่ควรพลาด

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Online

CPA นับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้
  • Update!! หลักเกณฑ์ของสรรพากร เอกสารหลักฐานทางบัญชีและภาษีที่ต้องจัดทำและตรวจสอบ
  • เทคนิคที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ห้ามพลาด!! เพื่อจัดการเอกสารรับ-จ่ายเงินพร้อมรับมือการส่งข้อมูลของธนาคาร ตลอดปี 2567
  • ปัญหาภาษีหัก ณ ที่จ่าย การปรับตัว และข้อควรระวังของเจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ เมื่อธนาคารเป็นผู้นำส่งภาษีแทน

 

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ พลาดไม่ได้

1. การรับรู้รายได้-ค่าใช้จ่าย ตามรูปแบบการรับ-จ่ายเงินในปัจจุบัน
- เงินสด, เช็ค, แคชเชียร์เช็ค
- โอนเงินผ่านธนาคาร/ ชำระเงินออนไลน์ เช่น QR CODE, Prompt Pay, Internet Banking, Counter Service
- บัตรเครดิต
- การแบ่งชำระเป็นงวด
- ผ่านระบบ Vender
- ค้างชำระ

2. การออก-รับเอกสารทางการเงิน
- ใบกำกับภาษี
- ใบรับเงิน
- ใบเสร็จรับเงิน
- ใบส่งมอบเช็ค
- บิลเงินสด
- ใบแทนใบเสร็จรับเงิน

3. ลักษณะใบเสร็จรับเงินที่สำคัญในการลงรายจ่ายของกิจการ อย่างไรจะเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
- ลักษณะของใบเสร็จรับเงินที่สรรพากรยอมรับ
- กรณีใดเป็นรายจ่ายต้องห้าม
- ใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อ ที่อยู่ของ ผู้จ่ายเงิน
- ใบเสร็จรับเงินไม่มีลายเซ็นผู้รับเงิน
- กรณีใบเสร็จรับเงินมีการขีดฆ่าแก้ไข แต่ไม่มีลายเซ็นกำกับถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

4. เอกสารหลักฐานที่สามารถลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ถูกต้อง

5. ข้อควรระวังในการออกเอกสารทางการเงินของเจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ไม่ควรพลาด

1ใครคือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายมีหลักเกณฑ์อย่างไร

2เงินได้ที่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจ ที่เจ้าหน้าที่การเงินต้องพบเป็นประจํา และจะหัก ณ ที่จ่ายเมื่อใด

3. e-Withholding Tax การหัก ณ ที่จ่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
- ข้อดี-ข้อเสียจากการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
- ความแตกต่างในการหัก ณ ที่จ่าย 2 ระบบ (ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกระดาษ)
พร้อมวิธีปฏิบัติงาน
- การออกและตรวจสอบเอกสารหลักฐาน พร้อมวิธีการนำส่งวิธีการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ให้กรมสรรพากร ทั้ง 2 ระบบ
   * ข้อมูลที่ต้องระบุ                      
   * แก้ไขได้หรือไม่
   * ผู้แก้กับผู้ออกจำเป็นต้องเป็นคนเดียวกันหรือไม่
- การเรียกดูข้อมูลและการตรวจสอบใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุนและใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์

4. การออกและรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

5. วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อผู้รับเงินไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินต้องปฏิบัติอย่างไร

6. ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
แต่ไม่ยอมนำส่งข้อมูลให้สรรพากร ต้องรับผิดอย่างไร

7. ไม่มีต้นฉบับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องทำอย่างไรใช้สำเนาในการขอคืนได้หรือไม่?

8. ชื่อ ที่อยู่ หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายผิด ใช้ได้หรือไม่? แก้ไขอย่างไร?

9. ได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายข้ามปีต้องทำอย่างไร? สามารถขอคืนได้หรือไม่?

 

 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์

1. เอกสารที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ ต้องพบในการทำงาน
- ใบกำกับภาษีและใบรับแบบกระดาษ / ใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์
(e-Tax Invoice & e-Receipt)
- ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- ใบลดหนี้, ใบเพิ่มหนี้
- ใบแจ้งหนี้
- ใบส่งของ, ใบส่งของชั่วคราว
- เอกสารออกเป็นชุด

2. หลักเกณฑ์และความแตกต่างการออกและใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบกำกับภาษีแบบกระดาษ พร้อมจุดที่ต้องระวังเกี่ยวกับรายการในการออกใบกำกับภาษี

3. จุดความรับผิด (Tax Point) ในการออกหรือรับใบกำกับภาษี
- ส่งมอบสินค้า
- วางมัดจำ
- ออกใบกํากับภาษี
- ออกใบแจ้งหนี้
- ตกลงซื้อขาย
- แล้วแต่ผู้ขายกับผู้ซื้อจะตกลงกันได้หรือไม่

4. วิธีปฏิบัติของกรมสรรพากร ในการออกและรับใบกํากับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบแทน
- ข้อความที่ต้องปรากฏในใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ใบกํากับภาษีอย่างย่อ และเอกสารออกเป็นชุด
   * อย่างไรเรียกว่า ''ใบกำกับภาษีตีพิมพ์จากโรงพิมพ์'' และ ''ใบกำกับภาษีจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์''
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมทั้งสาเหตุ ในการออกใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้
- รายการที่ต้องเพิ่มในใบกํากับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ของสรรพากร
- การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ออกกรณีใดบ้าง
- ใบกํากับภาษีสูญหาย ต้องปฏิบัติอย่างไร และถ้าหายทั้งฝ่ายผู้รับและผู้ออกใบกํากับภาษี
เจ้าหน้าที่การเงินจะทำอย่างไร
- ได้รับใบกํากับภาษีมาล่าช้า ข้ามเดือนใช้ได้หรือไม่ ทำอย่างไรสรรพากรจึงจะยอมรับ

5 .กรณีที่ถือเป็นการ “ขาย” ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี แต่ต้องนำส่ง และกรณีไม่ต้องนำส่งภาษีภาษีมูลค่าเพิ่ม

6. e-Payment การรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ กับประเด็นภาษีที่ไม่ควรพลาด

7. การรับชำระเงินด้วยเช็ค เงินสด โอนเงินผ่านธนาคาร ธนาณัติ รับชำระผ่าน Counter Service ให้เครดิตจะออกใบกํากับภาษีอย่างไร และลงวันที่ใดในใบกํากับภาษี
- ส่งมอบเช็คล่าช้าจะออกใบกํากับภาษีลงวันที่เมื่อใด

8การออกใบกํากับภาษี กรณีให้ส่วนลด แถมสินค้า ของแถม จะต้องออกใบกํากับภาษีอย่างไร

9. ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่ยอมรับใบกํากับภาษี เจ้าหน้าที่การเงินต้องทำอย่างไร

10. วิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอม, บริษัทที่ไม่มีตัวตนจริง
และผลเสียหายจากการใช้ใบกํากับภาษีปลอม

11. กรณีขายสินค้าหรือให้บริการแล้วไม่ออกใบกํากับภาษี หรือออกโดยไม่มีสิทธิออก จะมีความผิดอย่างไร

12. วิธีการแก้ไขเมื่อไม่มีเอกสารการรับ-จ่ายเงิน แคชเชียร์จะแก้ไขอย่างไร และจะแจ้งกับผู้เกี่ยวข้องอย่างไร

13. การวางแผนภาษีจากการชำระเงินที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์สามารถทำได้

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม


   


 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ ไม่เป็นทางการ (นับชั่วโมงได้ตามจำนวน ชม. การเข้าอบรมจริง)
0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (CPA นับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba