• สร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานภาครัฐในการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารให้พร้อมก่อนผู้สอบบัญชีเข้าตรวจ
• เรียนรู้การจัดทำรายงานการเงินของหน่วยงานภาครัฐอย่างถูกต้อง
• ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีที่มักตรวจพบในหน่วยงานภาครัฐ พร้อมแนววิธีการแก้ไข
วิทยากรโดย คุณสุวัฒน์ มณีกนกสกุล
หัวข้อสัมมนา
- ทำความเข้าใจประเภทของหน่วยงานภาครัฐ
- ความแตกต่างการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีเอกชน กับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
- หน่วยงานภาครัฐใดบ้างที่ผู้สอบบัญชีเอกชนสามารถเข้าตรวจได้
- คุณสมบัติและบทบาทของผู้สอบบัญชีที่สามารถตรวจสอบบัญชีหน่วยงานภาครัฐได้
- การจัดทำรายงานการเงินของหน่วยงานภาครัฐ
5.1 สรุปมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ
5.2 รูปแบบการนำเสนอรายงานการเงินของหน่วยงานภาครัฐ
- สรุปขั้นตอนการสอบบัญชีที่นักบัญชีและผู้เกี่ยวข้องควรทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจสอบ
- หน้าที่และการจัดเตรียมข้อมูล เพื่อรับการตรวจจากผู้สอบบัญชี ของแต่ละส่วนงาน ดังนี้
- บัญชีและการเงิน
- จัดหารายได้ (ตามเฉพาะแต่ละหน่วยงานภาครัฐ)
- จัดซื้อจัดจ้าง
- วัสดุและสินค้าคงเหลือ
- พัสดุและคุรุภัณฑ์
- ทรัพยากรบุคคล
- แผนงานและงบประมาณ
- ยุทธศาสตร์และการจัดทำโครงการ
- เอกสารใดบ้างที่ต้องจัดเตรียมให้กับผู้สอบบัญชีเมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจสอบ
8.1 เอกสารทั่วไป
- เอกสารเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงาน
- แผนผังหน่วยงาน
- ระเบียบข้อบังคับต่างๆ
- เอกสารสัญญา
8.2 เอกสารทางบัญชี
- งบทดลอง บัญชีแยกประเภท งบการเงินในปีปัจจุบันและปีก่อน
- แผนงานงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานสรุปรายจ่ายที่เกิดขี้นจริงเปรียบเทียบกับงบประมาณในแต่ละเดือนและประจำปี
- ทะเบียนคุมการจัดซื้อจัดจ้างที่สามารถตรวจสอบกับงบประมาณได้
- รายงานสรุปการจัดทำโครงการในแต่ละโครงการเปรียบเทียบกับงบประมาณ
- งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร Bank Statement สมุดเงินฝากธนาคาร และสมุดคุมเงินสดย่อย
- เงินฝากธนาคารที่ติดภาระค้ำประกัน
- ลูกหนี้ การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้ที่ค้างชำระ และนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
- เงินลงทุนในกองทุน เช่น Statement สมุดเงินฝาก หรือกรณีหน่วยงานจ้าง บลจ. บริหารกองทุน จัดเตรียม งบการเงิน (กช.) และสัญญาการจัดการกองทุน
- สินค้าคงเหลือ การวิเคราะห์อายุของสินค้าคงเหลือ นโยบายการตั้งค่าเผื่อสินค้าคงเหลือ วัสดุล้าสมัย
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เช่น ลูกหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เงินทดรองต่างๆ
- ทะเบียนทรัพย์สินถาวร พัสดุและคุรุภัณฑ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ รายการซื้อ ขาย ตัดจำหน่าย และบริจาค และนโยบายในการตัดค่าเสื่อมราคา
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
- เจ้าหนี้และการวิเคราะห์อายุของเจ้าหนี้
- เงินรับฝากทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน
- ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น สัญญาต่างๆ ที่ยังดำเนินการอยู่
- คดีความที่เป็นผู้ฟ้องร้องและถูกฟ้องร้อง จนถึงปัจจุบัน
- ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีที่มักตรวจพบ จากการตรวจสอบบัญชีหน่วยงานภาครัฐ พร้อมวิธีการแก้ไข
- การรับรู้รายได้อื่นไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ
- การรับรู้รายได้อื่นไม่ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชี
- การรับรู้ค่าใช้จ่ายไม่ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชี
- ทะเบียนทรัพย์สินถาวร พัสดุและคุรุภัณฑ์ไม่สามารถตรวจนับได้ และไม่มีการติดรหัสในทรัพย์สินถาวร
- บทกำหนดโทษของหน่วยงาน กรณีผู้สอบบัญชีตรวจพบความผิดพลาด
|