รู้ไว้ไม่เสียหลายกับการจำหน่ายหนี้สูญ

โดย

 


เมื่อผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้า หรือบริการไปแล้ว และได้ ชำระภาษีตามเกณฑ์สิทธิไปแล้ว แต่ต่อมากลับไม่ได้รับ
ชำระหนี้ หนี้นั้นจึงกลายเป็น หนี้สูญ...
ลักษณะของหนี้สูญ
1. ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการ หรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไร
สุทธิทั้งนี้ ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะ
ที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
2. ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

หลักฐานโดยชัดแจ้ง ต้องแจ้งชัดขนาดไหน 
หลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำสัญญา และกำหนดแบบของสัญญาไว้ ต้องมีหลักฐานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
เช่น สัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือ สัญญากู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาท เป็นต้น
กรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนด เพียงใบส่งของ หรือเช็คที่ขึ้นเงินไม่ได้ ก็ถือเป็นหลักฐานที่จะใช้ฟ้องบังคับชำระหนี้ได้

วงเงินที่เป็นหนี้ต่าง วิธีการจำหน่ายหนี้สูญก็ต่างตามไปด้วย
วิธีการจำหน่ายหนี้สูญ ตามจำนวนที่ลูกหนี้แต่ละรายเป็นหนี้
1. กรณีที่ 1 ลูกหนี้เป็นหนี้จำนวน เกิน 500,000 บาท
2. กรณีที่ 2 ลูกหนี้เป็นหนี้จำนวน เกิน 100,000 บาท แต่
ไม่เกิน 500,000 บาท
3. กรณีที่ 3 ลูกหนี้เป็นหนี้จำนวน ไม่เกิน 100,000 บาท

ขั้นตอนการจำหน่ายหนี้สูญ กรณี หนี้เกิน 500,000 บาท
กรณีไม่มีการฟ้องร้องต่อศาล
บริษัทที่จะจำหน่ายหนี้สูญต้องได้ ติดตามทวงถามลูกหนี้ โดยมีหลักฐานการติดตาม
อย่างชัดแจ้ง และต้องยังไม่ได้รับชำระหนี้ เพราะ
1. ลูกหนี้ตาย หรือเป็นคนสาบสูญ และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจะชำระหนี้ได้ หรือ
2. ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนอยู่จำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
กรณีมีการฟ้องร้องต่อศาล
บริษัทที่จะจำหน่ายหนี้สูญต้องได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้
รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระ
หนี้ได้หรือ มีหลักฐานจากทางเจ้าหนี้ โดยกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ มีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญ
จากบัญชีลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ถูกฟ้องในคดีล้มละลาย
บริษัทที่จะจำหน่ายหนี้สูญต้องได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือ ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้
ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับ
การประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

ขั้นตอนการจำหน่ายหนี้สูญ กรณี หนี้เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กรณีไม่มีการฟ้องร้องต่อศาล
บริษัทที่จะจำหน่ายหนี้สูญต้อง มีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดเจนมาประกอบ และต้องยังไม่ได้รับชำระหนี้
เพราะ
1. ลูกหนี้ตาย หรือเป็นคนสาบสูญ และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจะ ชำระหนี้ได้ หรือ
2. ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนอยู่จำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
กรณีมีการฟ้องร้องต่อศาล
บริษัทที่จะจำหน่ายหนี้สูญต้อง มีคำสั่งรับคำฟ้อง หรือคำขอ มาเป็นหลักฐานประกอบการจำหน่ายหนี้สูญ โดยไม่ต้อง
รอผลของคดี หรือ รอการบังคับคดี หรือการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ถูกฟ้องในคดีล้มละลาย
เพียงแค่ศาลมีคำสั่งรับคำฟ้อง หรือคำสั่งรับคำขอชำระหนี้ในคดีล้มละลายก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานประกอบการ
จำหน่ายหนี้สูญได้

ขั้นตอนการจำหน่ายหนี้สูญ กรณี หนี้ไม่เกิน 100,000 บาท
เป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการในการติดตามทวงถาม โดยใช้หนังสือทวงถามลูกหนี้ของทนายความ และใบตอบรับ
ทางไปรษณีย์มาเป็นหลักฐานได้
โดยต้องติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และยังไม่ได้รับชำระหนี้ และ ต้องมีหลักฐานการคำนวณ
ค่าใช้จ่ายในการฟ้องที่แสดงว่าไม่คุ้มกับหนี้ที่ได้รับชำระ (อาจให้ฝ่ายกฎหมายของบริษัทหรือทนายความทำความ
เห็นในเรื่องดังกล่าว) เพื่อจำหน่ายหนี้สูญต่อไป


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : รู้ไว้ไม่เสียหลายกับการจำหน่ายหนี้สูญ
FaLang translation system by Faboba