จะหัก 5% หรือหัก 3 % ปัญหาการหักภาษี ของค่าเช่าและค่าบริการ

โดย

 



การหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายไทยมีหลายอัตรามากบางครั้งก็ทำให้นักบัญชีสับสนว่าต้องหัก ณ ที่จ่ายอัตราใดกันแน่ เพราะมีทั้ง อัตราก้าวหน้า,1%, 2% , 3%, 5%, 10%, 15%  ซึ่งก็จะขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในเรื่องของการหัก ณ ที่จ่าย  เช่น

การหักภาษีของค่าเช่า VS ค่าบริการ ว่ามีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร
หลักการพิจารณาง่ายๆ เรื่องของการเช่าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย 5 % นั้นมองถึงเรื่อง “การส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้กับผู้เช่าและผู้เช่าจะต้องดูแลทรัพย์สินที่เช่าเสมือนเป็นทรัพย์สินของตนเองทั้งต้องบำรุงรักษารวมถึงการซ่อมแซมด้วย” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.553

ตัวอย่างเช่น

การเช่าร้านค้าในห้างสรรพสินค้า เช่น ร้าน KFC , MacDonald, After You ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่ร้านมีประตูปิดมิดชิด ล๊อคกุญแจแน่นหนา เจ้าของห้างไม่สามารถที่จะเข้าออกได้ตามอำเภอใจ

ส่วนคำว่าบริการนั้น ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง “การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งไม่ใช่เป็นการขายสินค้า” ซึ่งต้องหัก ณ ที่จ่าย 3%

ตัวอย่างเช่น

การใช้พื้นที่จัดบูธเพื่อแสดงสินค้า ไม่มีประตูปิดมิดชิด บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เช่าสามารถเดินเข้าออกได้หรือการใช้บริการที่จอดรถก็ถือเป็นบริการที่จะต้องหัก 3%

จึงสรุปได้ว่าการเช่าก็ไม่ใช่เป็นการขายสินค้าอยู่ในความหมายของบริการซึ่งหัก 3 % ก็จริงแต่การเช่าแตกต่างจากการให้บริการตรงที่ ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้เช่าและเมื่อหากต้องมีการซ่อมแซมในขณะที่เช่าผู้เช่าต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ หากเข้าหลักเกณฑ์นี้ถือเป็นการเช่า และต้องหัก 5 %


Khunchom : Special : ภาษี
วารสาร : CPD&ACCOUNT กันยายน 2560


FaLang translation system by Faboba