G20: สหรัฐฯ-รัสเซีย จับมือลดการผลิตอาวุธนิวเคลียร์

โดย ปรีดิวิชญ์ พนมยงค์
 
 
Barack Obama shakes hands with Russian President Dmitry Medvedev : G20 summit: US and Russia agree to cut nuclear arsenals



     พบกันในการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ณ ประเทศอังกฤษ สองชาติมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ได้เปิดมิติใหม่แห่งความสัมพันธ์ โดยตกลงลดการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ลงและยินยอมให้มีการตรวจสอบอาวุธซึ่งกันและ กัน


     ผู้นำของทั้งสองประเทศต่างเห็นพ้องในหลักการดังกล่าวและพร้อมเปลี่ยนสนธิ สัญญาลดอาวุธฉบับเดิม หรือที่เรียกว่า “สตาร์ท” (START - Strategic Arms Reduction Treaty) ซึ่งจะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม ด้วยสนธิสัญญาผูกพันฉบับใหม่

     “เราได้ตกลงในการดำเนินยุทธศาสตร์ใหม่ที่สามารถตรวจสอบได้ในการลดจำนวนคลัง สรรพาวุธโจมตีของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการเปลี่ยนสนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ เป็นสนธิสัญญาผูกพันฉบับใหม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย” ประธานาธิบดีบารัก โอบามา และ ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ประกาศในแถลงการณ์ร่วม

     ภาพความเป็นศัตรูที่มีมายาวนานของทั้งสองประเทศดูเลือนลางลงทันที หลังจากที่โอบามากล่าวว่า “เขารู้สึกมีกำลังใจอย่างยิ่ง” และยังเสริมว่า “สิ่งที่เราเห็นวันนี้คือการเริ่มต้นของการเจริญสัมพันธ์อันดีระหว่าง สหรัฐฯ-รัสเซีย”

     ส่วนเมดเวเดฟกล่าวถึงการหารือครั้งนี้ว่ามีความคืบหน้าและลดความตึงเครียด ระหว่างกันในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังรู้สึกประทับใจในท่าทีของผู้นำสหรัฐ แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะใกล้ชิดกัน มากขึ้น  อย่างไรก็ดีนับว่าผลการหารือในครั้งนี้ได้ผลเกินความคาดหมาย

     จากนั้นผู้นำทั้งสองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัด ทำสนธิสัญญาเพื่อเดินหน้าการลดอาวุธนิวเคลียร์ และจะมีการติดตามผลกันในเดือนกรกฎาคม  ซึ่งผู้นำสหรัฐกล่าวว่า สหรัฐและรัสเซียจะเป็นผู้นำในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ของโลก โดยในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายจะลดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ลงฝ่ายละ 1,500 หัวรบ

     ในรอบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจรัสเซียอ่อนแอลงอย่างมากจากผลกระทบด้านราคาน้ำมันที่ตกลงจากราคาสูง สุด 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อปีที่แล้ว เหลือ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันนี้ การสูญเสียกำไรอย่างคาดไม่ถึงจากผลกระทบด้านราคาน้ำมันดังกล่าวทำให้รัสเซีย ตระหนักดีว่าการวางตัวเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯนั้นคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

     นอกจากนี้ เหตุที่รัสเซียพร้อมที่จะเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากสนธิสัญญามอสโคว หรือ “ซอร์ท” (SORT – Strategic Offensive Reductions Treaty) ที่ทั้งสองฝ่ายลงนามร่วมกันเมื่อ ค.ศ. 2002 อนุญาตให้แต่ละฝ่ายมีหัวรบยุทธศาสตร์ได้มากสุด 2,200 หัวรบ ในขณะที่อาวุธในคลังสรรพาวุธของรัสเซียชำรุดทรุดโทรมลงอย่างมาก จนเกรงว่าจะไม่สามารถรักษาระดับตัวเลขให้เสมอกันไว้ได้ มีการประเมินว่ารัสเซียน่าจะมีอาวุธสะสมอยู่ในคลังแสงประมาณ 10,000 หัวรบ แต่กว่า 70% ไม่น่าจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ อีกหลายหัวรบก็กำลังจะหมดอายุการใช้งาน และจะต้องถูกปลดระวางในไม่ช้า

     ถึงแม้ปราศจากข้อตกลงลดอาวุธ คลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียน่าจะตกลงเหลือ 1,500 หัวรบ ประธานาธิบดีเมดเวเดฟ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสหรัฐฯจะลดจำนวนอาวุธลงเท่ากัน ด้วยเหตุนี้เขาจึงยิ่งกว่าพร้อมที่จะเจรจาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงในครั้งนี้

Barack Obama shakes hands with Russian President Dmitry Medvedev : G20 summit: US and Russia agree to cut nuclear arsenals



     พบกันในการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ณ ประเทศอังกฤษ สองชาติมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ได้เปิดมิติใหม่แห่งความสัมพันธ์ โดยตกลงลดการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ลงและยินยอมให้มีการตรวจสอบอาวุธซึ่งกันและ กัน

 


     ผู้นำของทั้งสองประเทศต่างเห็นพ้องในหลักการดังกล่าวและพร้อมเปลี่ยนสนธิ สัญญาลดอาวุธฉบับเดิม หรือที่เรียกว่า “สตาร์ท” (START - Strategic Arms Reduction Treaty) ซึ่งจะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม ด้วยสนธิสัญญาผูกพันฉบับใหม่

     “เราได้ตกลงในการดำเนินยุทธศาสตร์ใหม่ที่สามารถตรวจสอบได้ในการลดจำนวนคลัง สรรพาวุธโจมตีของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการเปลี่ยนสนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ เป็นสนธิสัญญาผูกพันฉบับใหม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย” ประธานาธิบดีบารัก โอบามา และ ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ประกาศในแถลงการณ์ร่วม

     ภาพความเป็นศัตรูที่มีมายาวนานของทั้งสองประเทศดูเลือนลางลงทันที หลังจากที่โอบามากล่าวว่า “เขารู้สึกมีกำลังใจอย่างยิ่ง” และยังเสริมว่า “สิ่งที่เราเห็นวันนี้คือการเริ่มต้นของการเจริญสัมพันธ์อันดีระหว่าง สหรัฐฯ-รัสเซีย”

     ส่วนเมดเวเดฟกล่าวถึงการหารือครั้งนี้ว่ามีความคืบหน้าและลดความตึงเครียด ระหว่างกันในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังรู้สึกประทับใจในท่าทีของผู้นำสหรัฐ แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะใกล้ชิดกัน มากขึ้น  อย่างไรก็ดีนับว่าผลการหารือในครั้งนี้ได้ผลเกินความคาดหมาย

     จากนั้นผู้นำทั้งสองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัด ทำสนธิสัญญาเพื่อเดินหน้าการลดอาวุธนิวเคลียร์ และจะมีการติดตามผลกันในเดือนกรกฎาคม  ซึ่งผู้นำสหรัฐกล่าวว่า สหรัฐและรัสเซียจะเป็นผู้นำในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ของโลก โดยในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายจะลดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ลงฝ่ายละ 1,500 หัวรบ

     ในรอบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจรัสเซียอ่อนแอลงอย่างมากจากผลกระทบด้านราคาน้ำมันที่ตกลงจากราคาสูง สุด 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อปีที่แล้ว เหลือ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันนี้ การสูญเสียกำไรอย่างคาดไม่ถึงจากผลกระทบด้านราคาน้ำมันดังกล่าวทำให้รัสเซีย ตระหนักดีว่าการวางตัวเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯนั้นคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

     นอกจากนี้ เหตุที่รัสเซียพร้อมที่จะเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากสนธิสัญญามอสโคว หรือ “ซอร์ท” (SORT – Strategic Offensive Reductions Treaty) ที่ทั้งสองฝ่ายลงนามร่วมกันเมื่อ ค.ศ. 2002 อนุญาตให้แต่ละฝ่ายมีหัวรบยุทธศาสตร์ได้มากสุด 2,200 หัวรบ ในขณะที่อาวุธในคลังสรรพาวุธของรัสเซียชำรุดทรุดโทรมลงอย่างมาก จนเกรงว่าจะไม่สามารถรักษาระดับตัวเลขให้เสมอกันไว้ได้ มีการประเมินว่ารัสเซียน่าจะมีอาวุธสะสมอยู่ในคลังแสงประมาณ 10,000 หัวรบ แต่กว่า 70% ไม่น่าจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ อีกหลายหัวรบก็กำลังจะหมดอายุการใช้งาน และจะต้องถูกปลดระวางในไม่ช้า

     ถึงแม้ปราศจากข้อตกลงลดอาวุธ คลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียน่าจะตกลงเหลือ 1,500 หัวรบ ประธานาธิบดีเมดเวเดฟ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสหรัฐฯจะลดจำนวนอาวุธลงเท่ากัน ด้วยเหตุนี้เขาจึงยิ่งกว่าพร้อมที่จะเจรจาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงในครั้งนี้

FaLang translation system by Faboba