สิ่งที่หัวหน้าควรปฏิบัติ เมื่อลูกน้องขอคำปรึกษา

โดย

 


1. เป็นผู้ฟังที่ดี และเป็นนักพูดที่มีเหตุผล

มีสมาธิในการฟัง ฟังอย่างสำรวม ไม่พูดแทรก และวิเคราะห์เจตนาของการสื่อสาร วางตนเป็นกลาง และวิจารณ์
อย่างมีเหตุผลของความเป็นจริง

2. จับประเด็น และมุ่งเน้นหาทางออก
จับใจความสำคัญของเรื่องที่ลูกน้องกำลังสื่อสาร หาประโยชน์จากเรื่องที่ฟัง เพื่อมุ่งเน้นหาทางออกของปัญหานั้นๆ
มากว่าการเสาะหาว่าสิ่งนั้นใครเป็นผู้กระทำผิด

3. สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ
การจริงใจและให้เกียรติผู้อื่น ถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของหัวหน้างานที่ดี ซึ่งควรปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่ลูกน้อง
อยู่แล้ว ดังนั้นการที่จะสร้างความสัมพันธ์หรือความไว้วางใจ เพื่อให้ลูกน้องเปิดใจเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังได้นั้น
ควรแสดงความจริงใจต่อผู้ที่มาปรึกษาปัญหากับเราด้วย

4. แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
การแสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ คือ การที่เราพยายามทำความเข้าใจปัญหาของคนๆนั้นในมุมมอง
ที่แตกต่างไปจากมุมมองของตัวเอง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นั้นได้ระบายความรู้สึกออกมาได้อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยง
สภาวะกดดัน ซึ่งจะทำให้เกิดกำลังใจในการแก้ปัญหาไปในทางออกที่ดี

5. รักษาความลับ
การรักษาความลับ แสดงถึงการให้เกียรติและความซื่อสัตย์ของผู้ฟัง ไม่ว่าเรื่องที่มาปรึกษานั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือ
เรื่องใหญ่ หัวหน้าควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อรักษาภาพพจน์ของตัวลูกน้องเอง และอาจรวมไปถึงภาพพจน์
ขององค์กรอีกด้วย หากคุณเจอเรื่องแย่ๆ ให้คิดซะว่านั่นคือบทเรียนที่จะทำให้ คุณพัฒนาตนเอง และพร้อมเริ่มใหม่
ในทุกๆวัน


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : สิ่งที่หัวหน้าควรปฏิบัติ เมื่อลูกน้องขอคำปรึกษา

 


FaLang translation system by Faboba