แนวคิดงานบัญชี การจัดการสินค้าคงเหลือ (ภาคที่ 1)

โดย

 


การจัดการสินค้าคงเหลือ นักบัญชีควรมีแนวคิดอย่างไร
 

องค์ประกอบสำคัญของสินค้าคงเหลือประกอบด้วย Quantity  กับ Price  ดังนั้น นักบัญชีพึงต้องเข้าใจ
ในรายละเอียด ดังนี้

1. Quantity ปริมาณ ได้แก่ ประเภท ของสินค้าคงเหลือ ลักษณะของสินค้าคงเหลือ หน่วยนับ แน่นอน /
ไม่แน่นอน อายุของสินค้า ปริมาณการซื้อ ในแต่ละครั้ง การตรวจรับ และวิธีการตรวจนับ การจัดเก็บ พื้นที่ /
lay out กิจกรรมการรับ – จ่าย เอกสารที่เกี่ยวข้อง โปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า

2. Price ราคา ได้แก่ ส่วนประกอบของราคาทุน การได้รับส่วนลด การเปลี่ยนแปลงของราคา (ทั้งต้นทุน
และราคาขาย)

สำหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการอ้างอิง นักบัญชีควรศึกษา PAEs - มาตรฐาน
การบัญชี ฉบับที่ 2  เรื่อง สินค้าคงเหลือ หรือ NPAEs – บทที่ 8 สินค้าคงเหลือ 
“สินค้าคงเหลือ” หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ
ข. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
ค. อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนผลิตสินค้าหรือให้บริการ

จากความหมายของสินค้าคงเหลือพอจะสรุปได้ว่า สินค้าคงเหลือ น่าจะหมายถึง สินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย งานระหว่าง
วัตถุดิบ และวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ ดังนั้น นักบัญชีต้องพิจารณาก่อนว่า ธุรกิจที่เราเป็นผู้ทำบัญชีอยู่นั้น มีสินค้าคงเหลือ
ตามความหมายที่ปรากฏหรือไม่ นั่นหมายความว่าก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีนั้น ต้องมี
การจัดระบบเนื้อหาสินค้าคงเหลือของธุรกิจก่อนนั่นเอง 

ถ้าจะอธิบายง่ายๆ วัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ มักจะเป็นวัสดุใช้สิ้นเปลือง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสมในการผลิต หรือ
บางที่ก็เรียกว่า “วัตถุดิบทางอ้อม” 

ประเด็นปัญหาเบื้องต้นต่อมา อะไหล่คงเหลือ ควรถือเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือหรือไม่ ความเห็นโดยสรุป
อะไหล่คงเหลือจึงต้องดูในเนื้อหาสาระ ถ้าอะไหล่คงเหลือเป็นลักษณะของอะไหล่สำรองเพื่อการเปลี่ยนแทน
(อะไหล่เฉพาะ) ต้องไปจัดอยู่ภายใต้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และถึงแม้จะเป็นอะไหล่ทั่วไป ก็ควรแสดง
อยู่ภายใต้สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

ดังนั้น บทสรุปในเบื้องต้น จึงต้องจัดระบบเนื้อหาสาระ ประเภทของสินค้าคงเหลือ ให้ชัดเจนก่อน ลำดับต่อมา
การควบคุมสินค้าคงเหลือ จะต้องจัดทำบัญชีคุมสินค้า หรือ STOCK CARD หรือไม่ เรื่องนี้ชัดเจนในระบบ
การควบคุมภายใน ต้องจัดทำบัญชีคุมสินค้า เพื่อใช้ในการควบคุมการรับ – จ่าย และการแสดงยอดคงเหลือ และ
ต้องพิสูจน์ความมีตัวตนอยู่จริง ซึ่งต้องมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือนั่นเอง 

  บางส่วนจากบทความ "แนวคิดงานบัญชี การจัดการสินค้าคงเหลือ – (ภาคที่ 1)"
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 188 เดือนสิงหาคม 2562


Accounting Style : CPD Coach : Mr.Knowing
วารสาร : CPD&ACCOUNT สิงหาคม 2562


FaLang translation system by Faboba