4 case ทางออกด้านภาษี ทรัพย์สิน สินค้า วัตถุดิบ สูญหายจากน้ำท่วม

โดย

 



Q :
ทรัพย์สิน สินค้า วัตถุดิบสูญหายเพราะถูกน้ำท่วมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และ ต้องเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
A : มาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากรให้ความหมายคำว่า “ขาย” ว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมี
ประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่
(จ) มีสินค้าขาดรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา87(3)หรือมาตรา87วรรคสองแต่การที่ทรัพย์สิน สินค้า
วัตถุดิบสูญหายเพราะถูกน้ำท่วมนั้นเป็นการสูญหายเพราะภัยธรรมชาติ ไม่สามารถป้องกันได้ เป็นเหตุสุดวิสัย
ไม่ถือว่าเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าและไม่ใช่การขาดจากรายงานสินค้า
และวัตถุดิบจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และทรัพย์สิน สินค้า และวัตถุดิบที่สูญหายหรือเสียหายเนื่องจาก
น้ำท่วมไม่ก่อให้เกิดรายได้ จึงไม่ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด

Q : บริษัทจะนำมูลค่าสินค้าที่สูญหายจากการถูกน้ำท่วมมาบันทึกเป็นผลเสียหายในการคำนวณ
กำไรสุทธิได้หรือไม่
A : เมื่อสินค้าสูญหาย เนื่องจากถูกน้ำท่วมและไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆย่อมถือเป็นผลเสียหาย
เนื่องจาการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวน ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ
จะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สินค้านั้นได้สูญหายจริง
อ้างอิง : ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0706/34060 ลงวันที่ 5 เมษายน 2549


Q : ภาษีซื้อของสินค้าที่สูญหายจากการถูกน้ำท่วมจะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
A : ภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่สูญหายเนื่องจากน้ำท่วมนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
การประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจาก
ภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
อ้างอิง : ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0706/34060 ลงวันที่ 5 เมษายน 2549


Q : กรณีบริษัททำประกันภัยทรัพย์สินไว้และได้รับค่าสินไหมทดแทน ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ อย่างไร
A : • ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทฯ ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายบางส่วนอันเนื่องมาจาก
อุทกภัยจากบริษัทประกันภัย การรับรู้ผลเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย บริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้โดยใช้วิธีการทาง
เกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทประกันภัยแจ้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย
ให้แก่บริษัทฯ หากบริษัทฯ ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากอุทกภัยในปี 2554 จากบริษัท
ประกันภัย ณ วันที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว มากกว่า
ค่าความเสียหายของทรัพย์สินที่ทำประกันภัยไว้ เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหัก
ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554
• ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัทประกันภัย ไม่เข้าลักษณะเป็น
รายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการตามมาตรา 77/1 (8) และมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ใน
บังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่อย่างใด 
อ้างอิง : ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0702/5858 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2556


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 4 case ทางออกด้านภาษี ทรัพย์สิน สินค้า วัตถุดิบ สูญหายจากน้ำท่วม

 


FaLang translation system by Faboba