"ประกันสุขภาพของพนักงาน" กับ ประเด็นรายจ่ายทางด้านภาษี

โดย

 

กรอบการพิจารณาประกันสุขภาพพนักงาน กับภาษีเงินได้นิติบุคคล



กรอบของการพิจารณาในเรื่องนี้มีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. รายจ่ายนี้ถือเป็นรายจ่ายส่วนตัว ตามมาตรา 65 ตรี (3) หรือไม่ สำหรับรายจ่ายค่าประกันเหล่านี้ ถ้าซื้อให้พนักงาน
เป็นการส่วนตัวจะถือว่าเป็นรายจ่ายที่ให้โดยเสน่หา ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเงินได้ของพนักงาน และไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายของ
กิจการครับ

2. กรณีที่พนักงานได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ไม่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 42(17) (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2 (77)) ต้องมี
ลักษณะดังต่อไปนี้ 

(77) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการใน
ราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
สำหรับ

(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาล
ในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศ
เป็นครั้งคราว

หลักการสำคัญในส่วนของประกันภัยนี้ต้องมีลักษณะประกอบด้วย การไม่เลือกปฎิบัติ และเป็นการประกันกลุ่มแบบไม่เกิน
1 ปี ถึงจะสามารถเป็นรายจ่ายของกิจการได้โดยไม่ต้องห้ามทางภาษี และไม่ต้องถือเป็นเงินได้ของพนักงานใน
การคำนวณภาษี 


  บางส่วนจากบทความ “ประกันสุขภาพของพนักงาน” กับ ประเด็นรายจ่ายทางด้านภาษี”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 198 เดือนมิถุนายน 2563


Tax Talk : Tax knowledge : Tax Bugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT มิถุนายน 2563


FaLang translation system by Faboba